คุณลักษณะที่เหมาะสมและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ของแชมพูออร์แกนิคในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
แชมพูออร์แกนิค, คุณลักษณะที่เหมาะสม, องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์แชมพูออร์แกนิคที่ผู้บริโภคพึงพอใจ และ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ของแชมพูออร์แกนิคให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชากรทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ผลิตแชมพูออร์แกนิค จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อแชมพูออร์แกนิค มาจำแนกกลุ่มผู้บริโภคด้วยวิธีการวิเคราะห์กลุ่มข้อมูล ต่อจากนั้นจึงหาคุณลักษณะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์แชมพูออร์แกนิคที่ผู้บริโภคพึงพอใจโดยใช้แนวคิดแบบจำลองคาโน พบว่า 1) กลุ่มผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใส่ใจดูแลสุขภาพเส้นผม สาเหตุที่เลือกซื้อเนื่องจากมีส่วนผสมของสมุนไพรแท้ร้อยละ 100 มีคนแนะนำให้ใช้ และกลุ่มเชื่อโฆษณา รีวิวสินค้า สาเหตุที่ซื้อเนื่องจากมั่นใจในคุณภาพของสินค้าตามคำแนะนำ และคุณลักษณะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์แชมพูออร์แกนิคที่ผู้บริโภคพึงพอใจ ได้แก่ 1.1) ฉลากระบุส่วนประกอบ 1.2) ข้อความบ่งบอกถึงคุณประโยชน์ต่อเส้นผม 1.3) ความเข้มข้นของสมุนไพรแท้ 1.4) ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม 1.5) กลิ่นหอม
สีธรรมชาติของสมุนไพร 1.6) มีข้อมูลที่อยู่ของแหล่งผลิต 1.7) ข้อมูลวันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ และ 2) การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของแชมพูออร์แกนิคให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ด้านการจัดเก็บ ด้านความสะดวกในการถือ ด้านความคงทน ด้านการเปิดและปิดใหม่ ด้านการกำจัด และด้านการใช้ซ้ำ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการถ่ายเทสินค้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). สรุปจำนวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติการจดทะเบียนแล้ว. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564 จากhttp://www.sceb.doae.go.th/Documents/
STC/311263.pdf.
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). 15 สมุนไพร Herbal Champions สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสู่ตลาดโลก. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1059280.
ประภัสสร คุ้มตระกูล. (2559). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง วิสาหกิจชุมชนกระแจะจันท์ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพชรายุทธ แซ่หลี วชิระ วิจิตรพงษา และหทัยธนก พวงแย้ม. (2564). การศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกซื้อเครื่องสำอางจากสมุนไพรของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 483-501.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565 จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/05_policy.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2565). สถิติด้านสังคมและประชากรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก
https://www.senate.go.th/document/Ext27142/27142288_0002.PDF.
สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี. (2559). สถิติด้านสังคมและประชากรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์2564 จาก http://ubon.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=
&Itemid=.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชนอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 155-166.
สุตาภัทร คงเกิด และจิรภัทร กิตติวรากูล. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการปรับภาพลักษณ์โดยการใช้สมุนไพรในการเพิ่มมูลค่าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 67-88.
อนันต์ สุนทราเมธากุล และคณะ. (2564). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 1-13.
Berger, C. et al. (1993). Kano Method for Understanding Customer Defined Quality.
Center for Quality Management Journal, 2, 3-36.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2014). Marketing Management. (14th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill Book.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research,
, 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร