แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทย สายทองบ้านลาด ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, แนวทางการพัฒนากลุ่มโอทอป, กลุ่มกระเป๋าสายทองบ้านลาดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม
ผลวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด มีดังนี้ ด้านการโฆษณากิจการมีช่องทางการโฆษณาน้อยและไม่หลากหลาย ด้านการส่งเสริมการขาย กิจการมีกลยุทธ์การส่งเสริมการขายน้อยและเฉพาะกลุ่มเกินไป ด้านการประชาสัมพันธ์กิจการมีกลยุทธ์การด้านการประชาสัมพันธ์น้อยและเฉพาะกลุ่มเกินไป ด้านการขายโดยบุคคลกิจการเน้นกลยุทธ์ ด้านการขายโดยบุคคลและด้านการตลาดทางตรง มีการสื่อสารการตลาดทางตรงกับลูกค้าน้อย 2) องค์ประกอบของกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบูรณาการของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.03, S.D. = .54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการขายโดยบุคคล ด้านการโฆษณา และด้านการประชาสัมพันธ์ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของกลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด อันดับหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ คือด้านการขายโดยบุคคลเนื่องจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานแฮนเมดหรืองานในกลุ่มโอทอปนั้นควรเน้นไปที่การสื่อสารของบุคคลที่ต้องมีทักษะในการขายและการเล่าถึงเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีเพื่อดึงดูดใจให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รองลงมาคือ ด้านการโฆษณา กลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาด ควรมีการโฆษณาที่หลากหลายเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และด้านการประชาสัมพันธ์กลุ่มกระเป๋าผ้าไทยสายทองบ้านลาดควรมีการประชาสัมพันธ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกิจการ
References
เจติกาน์ ศรีสรวล และณัฐพร อิฐสุวรรณ กัง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP
ของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี,
(4), 79-89.
บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวความคิด. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 2(1), 173-198.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. สารนิพนธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาวิณี ทองแย้ม. (2565). ศึกษาการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากผึ้งศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรีในยุควิถีใหม่. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 8(2), 1-15.
รัตติกาญจน์ ภูษิต. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าหมักโคลนในจังหวัดสุโขทัย ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ,
(2), 87-98.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ ปณิศา มีจินดา และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2563). หลักการตลาด.
นนทบุรี: ธรรมสาร.
สมหมาย พัฒนดิลก และกฤษฎา ตันเปาว์. (2564). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพรในภาคตะวันออกของประเทศไทย . วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 272-289.
สรรค์ชัย กิติยานันท์ สุทธิพจน์ ศรีบุญนาค สุภัตรา กันพร้อม และมานิต คำเล็ก. (2563). การสื่อสารทางการตลาดเชิงบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(2), 201-215.
อัครพงศ์ ทรัพย์สัณฐิติกุล. (2558). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจถ่ายภาพแต่งงาน. สารนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Hair J. F. et al. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร