ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจคาเฟ่ ของผู้บริโภคในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ธุรกิจคาเฟ่, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจคาเฟ่ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ที่เคยใช้บริการร้านคาเฟ่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา โดยเก็บจากธุรกิจคาเฟ่ในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 36 ร้าน
เก็บแบบสอบถามร้านละ 12 คน และคัดแบบสอบถามที่สมบูรณ์ที่สุดจำนวน 400 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจคาเฟ่ในเขตอำเภอเดชอุดม ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ตัวแปรทั้ง 5 ด้านสามารถพยากรณ์ร่วมกันได้ คิดเป็นร้อยละ 64
References
กฤติยา ปังขำ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). ส่องธุรกิจ “คาเฟ่” ไทย เข้าง่าย แต่ทำไมอยู่ได้ไม่นาน. สืบค้นเมื่อ
มกราคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/893479.
ทศพร ลีลอย. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการคาเฟ่กลางทุ่งนา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญไทย แสงสุพรรณ. (2562). คุณค่าของตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อ
การตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอน ศึกษาเฉพาะ สาขาในห้างสรรพสินค้าในเขตจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
รมย์นลิน โรจน์ธำรงค์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟสดจากร้านกาแฟสตาร์บัคส์
ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช. (2551). ธุรกิจการค้าปลีก. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศศิธร พรมมาลา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546) การบริหารการโฆษณา และการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์ทองพริ้นติ้ง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ธุรกิจร้านกาแฟ บริหารอย่างไรให้รุ่ง. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จาก https://www.kasikornbank.com /th/business/sme/ksmeknowledge/article/ ksmeksmeanal/pages/coffee-shop-management.aspx.
สุทัศน์ ดาวไธสง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
นอร์ทกรุงเทพ.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). ข้อมูลประชากรจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ
มีนาคม 2566 จาก https://www.opsmoac.go.th/ubonratchathani-dwl-files-451891791157.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing: An Introduction. (9th ed.). New Jersey:
Pearson Prentice Hall.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2012). Principles of Marketing. (14th ed.). England: Pearson Prentice Hall.
Nalisa. (2564). ตลาดกาแฟ: ยิ่งดื่ม ยิ่งเปิดสาขาเพิ่ม ยิ่งโต. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2565
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร