พฤติกรรมการเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเลือกซื้อ, มะม่วง, ผลิตภัณฑ์แปรรูปบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรเป็นผู้บริโภคมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งไม่ทราบจำนวนและสัดส่วนของประชากรที่แน่นอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย โดยใช้สูตรของ Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 โดยสุ่มตัวอย่างตามสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จำนวนสมาชิกที่อยู่ร่วมกันในปัจจุบัน 2-4 คน 2) พฤติกรรมการเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่ซื้อเพื่อบริโภคเอง มะม่วงดิบที่นิยมบริโภค ได้แก่ มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงสุกที่นิยมบริโภค ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงที่นิยมบริโภค ได้แก่ มะม่วงกวน นิยมซื้อในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (มีนาคม-พฤษภาคม) ซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ปริมาณในการซื้อมะม่วง 2-3 กิโลกรัมต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายในการซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงเฉลี่ย 101-150 บาทต่อครั้ง เลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในตลาดผลไม้ คาดว่าในอนาคตจะซื้อมะม่วงสุก 1-2 กิโลกรัมต่อครั้ง ซื้อมะม่วงดิบ 1-2 กิโลกรัมต่อครั้ง 3) ระดับการตัดสินใจเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 4) พฤติกรรมการเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .255 โดยมีค่าประสิทธิภาพในการพยากรณ์ (R2) ในภาพรวมเท่ากับ .065 ตัวแปร 5 ตัว สามารถทำนายการเลือกซื้อมะม่วงและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทราได้ร้อยละ 65
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม
จาก https://www.mots.go.th/news/category/630.
กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาค. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566 จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/wiekhraaahesrsthki
cchphuumiphaakhpracchameduuenemsaay.pdf.
ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียม กรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธันยมัย เจียรกุล. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่นชาวจีน.วารสารธุรกิจปริทัศน์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(1), 43-60.
สินีนาถ เริ่มลาวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดไปสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำหรับมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงจากจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 9(2), 39-48.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร. (2564). ข้อมูลรายการสินค้าของจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อการวางแผนและพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566 จาก https://www.opsmoac.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2566). อีอีซี สานพลัง ความร่วมมือจังหวัดฉะเชิงเทราพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่ คู่นำนวัตกรรมขั้นสูงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566 จาก https://www.eeco.or.th/th/news/572.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Jiayu, J. (2019). Purchasing Decision towards Thai Processed Fruits of Chinese Tourists in Chiang Mai Province. Master’s Independent Study, Degree of Business Administration, Chiang Mai Rajabhat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร