โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลการรับรู้คุณค่า ความคุ้นเคย และความเชื่อมั่น ที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล

ผู้แต่ง

  • ธิติยา ทองเกิน
  • นันทภัค ธนาอภินนท์
  • แวววัน ชมพูนุท ณ อยุธยา

คำสำคัญ:

การรับรู้คุณค่า, ความคุ้นเคย, ความเชื่อมั่น, ความตั้งใจซื้อ, ฟ้าทะลายโจร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลการรับรู้คุณค่า ความคุ้นเคย และความเชื่อมั่น ที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลการรับรู้คุณค่า ความคุ้นเคย และความเชื่อมั่น ที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลการรับรู้คุณค่า ความคุ้นเคย และความเชื่อมั่น ที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ผู้บริโภคที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
จำนวน 255 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มาวิเคราะห์ Preliminary Data Analysis และ Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลการรับรู้คุณค่า ความคุ้นเคย และความเชื่อมั่น ที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การรับรู้คุณค่า 2) ความคุ้นเคย และ3) ความเชื่อมั่น ซึ่งปัจจัยแต่ละตัวส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีสถิติไคสแควร์เท่ากับ 1640.827 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 519 CMIN/Df = 3.164 GFI = .738, CFI = .821, NFI = .773 และ RMSEA = .074 ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการสมุนไพรใช้ข้อมูลจากการวิจัยเป็นแนวทางในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูลให้เกิดการรับรู้ถึงคุณค่าให้มากขึ้น ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้น

Author Biographies

ธิติยา ทองเกิน

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

นันทภัค ธนาอภินนท์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

แวววัน ชมพูนุท ณ อยุธยา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

References

กรมพัฒนาการแพทย์ไทยและแพทย์ทางเลือก. (2559). รายการยาสมุนไพร First Line Drug ข้อบ่งใช้และข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับฟ้าทะลายโจร. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565

จาก https://cto.moph.go.th/.

ชนันรดา วรพต. (2560). ความคุ้นเคย ความไว้วางใจ และค่านิยมด้านสุขภาพที่มีผลต่อแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเผาผลาญไขมันของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชลลดา มงคลวนิช. (2563). ปัจจัยความเชื่อมั่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของเยาวชนไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(2), 189-214.

ณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล และคณะ. (2560). ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากการรับรู้ค่าและความคุ้นเคยที่ส่งผ่านความเชื่อมั่นและยึดติดกับผลิตภัณฑ์เดิม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 70-80.

ธนวัฒน์ สุทธิปรีชานนท์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสมของเภสัชกร ชุมชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรศักดิ์ จินดาบถ สุนันทา เหมทานนท์ และพิไลวรรณ ประพฤติ. (2561). การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ยางของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 106-116.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ฟ้าทะลายโจร ยกระดับการผลิตสมุนไพร สู่อุตสาหกรรมยา. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2565 จาก https: //www. Kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/ThaiHerb-FB200420.aspx.

สาลินี ทวีสวัสดิ์. (2559). การรับรู้คุณภาพสินค้า ที่มีต่อความชื่นชอบตราสินค้า: ศึกษากรณีสบู่เหลวเพื่อ

ความงามตราสินค้าแพรอทและตราสินค้าลักษณ์. รายงานวิจัยบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรวรรณ กอปรกิจงาม. (2566). ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะปอดอักเสบรุนแรงน้อยแบบบูรณาการ ด้วยฟ้าทะลายโจร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 17(1), 73-87.

Awang, Z. (2012). A Handbook on SEM Structural Equation Modelling: SEM Using AMOS Graphic. (5th ed.). Kota Baru: University Teknologi Mara Kelantan.

Byrne, B. M. (2010). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming. (2nd ed). New York: Taylor and Francis Group.

Field, A. (2005). Reliability Analysis. (2nd ed.). London: Sage.

Habibi, A. & Rasoolimanesh, S. M. (2021). Experience and Service Quality on Perceived Value and Behavioral Intention: Moderating Effect of Perceived Risk and Fee. Journal of Quality Assurance in Hospitality & Tourism, 22(6), 711-737.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.

Hong, I. B. & Hoon, S. C. (2013). The Mediating Role of Consumer Trust in an Online Merchant in Predicting Purchase Intention. International Journal of Information Management, 33(6), 927-939.

Huang, I. C. et al. (2021). The Effect of Perceived Value, Trust, and Commitment on Patient Loyalty in Taiwan. INQUIRY: The Journal of Health Care Organization, Provision, and Financing, 58(1), 1-9.

Jaleel, A. et al. (2021). Assessing the Interrelationships Between Customer Satisfaction, Perceived Value and Behavioral Intention Among Maldivians Seeking Medical Care within Medical Tourism Services: Empirical Evidence from the Maldives. Management Science Letters, 11(6), 1845-1854.

Jihye, P. & Leslie, S. (2005). Effect of Brand Familiarity, Experience and Information on Online Apparel Purchase. International Journal of Retail & Distribution Management,

(2), 148-160.

Kline, R. B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (2nd ed.).

Guilford: Press.

Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. Guilford Press, New York.

Laroche, M., Kim, C. & Zhou, L. (1996). Brand Familiarity and Confidence as a Determinants of Purchase Intention: An Empirical Test in a Multiple Brand Context. Journal of Business Research, 37(2), 115-120.

Meyers, L. S., Gamst, G. & Guarino, A. J. (2016). Applied Multivariate Research Design and Interpretation. (2nd ed.). California: Sage.

Sin, H. K. & Ismail, K. (2021). Perceived Risk and Trust in Purchase Intention Towards Generic Drugs in Malaysia. Jurnal Pengurusan, 61(1), 17-30.

Upmannyu, N. K. & Rajput, S. (2017). An Assessment of the Relationship Among Brand Trust, Perceived Value and Brand Loyalty. PRIMA: Practices & Research in Marketing,

(1), 10-23.

Wu, H. C., Li, T. & Li, M. Y. (2016). A Study of Behavioral Intentions Patient Satisfaction Perceived Value Patient Trust and Experiential Quality for Medical Tourists. Journal of Quality Assurance in Hospitality & Tourism, 17(2), 114-150.

Yilmaz, Y., Yurcu, G. & Aybar, D. (2022). Clinical Trust, Perceived Value and Behavioral Intention of Medical Tourists: Moderating Effect of Optimism and Pessimism. European Journal of Tourism Research, 30(1), 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29