แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการทำงาน, ความก้าวหน้า, ความสำเร็จ, ความมั่นคงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และเงินเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด จำนวน 172 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วย t-test, F-test.
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านความก้าวหน้า ด้านความสำเร็จในงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และด้านความมั่นคงในงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านความสำเร็จในงาน และด้านความมั่นคงในงาน ในขณะที่ เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และเงินเดือน ไม่แตกต่างกัน
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัยพลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 175-183.
กันตยา เพิ่มผล. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: ศิริการพิมพ์.
ทิพวรรณ เอี่ยมวงษา. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความคิดเห็นต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัท แอลซีบี คอร์ปอเรชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจ: ปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตํารา. อุบลราชธานี:
คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด. (2563). บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563 จาก https://www.rvconnex.com/th/home.
บุญธรรม พรเจริญ. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง อิทธิพลของแรงจูงใจและการพัฒนาตนเองที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบัญชีในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ไพบูลย์ ตั้งใจ. (2554). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษา
บริษัทแอมพาสอินดัสตรีจำกัด จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตน์ชนก จันยัง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงผลกำไร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
วรัท พฤกษากุลนันท์. (2563). ประสิทธิภาพและประสิทธิผล. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563 จาก http://peenet.blogspot.com/2008/07/efficiency-effectivenessadministrator.html.
วิทยา อินทร์สอน ปัทมาพร ท่อชู และสุขอังคณา แถลงกัณฑ์. (2559). แนวทางการพัฒนา
ระบบสมรรถนะ เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563 จาก http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=735.
วีรยุทธ วาณิชกมลนันทน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามกลาสอินดัสทรี จำกัด โรงงานอยุธยา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรีย์พร น้อยมณี. (2558). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Bawa, M. A. (2017). Employee Motivation and Productivity: A Review of Literature and Implications for Management Practice. Delta State: Petroleum Training Institute, Effurun.
Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร