แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ผ่องมณี พิทักสันติ
  • รัตนภรณ์ แซ่ลี้
  • พิมุกต์ สมชอบ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ค่าตอบแทน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ด้าน โดยด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านสถานะของอาชีพ และด้านสภาพการทำงาน และด้านค่าตอบแทนที่ได้รับมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 3) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่าเพศที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมและด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านสถานะของอาชีพ และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สถานภาพสมรสที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าตอบแทนที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสถานะของอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภาพรวมและด้านค่าตอบแทนที่ได้รับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสภาพการทำงาน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวม ด้านสภาพการทำงาน และด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

ผ่องมณี พิทักสันติ

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

รัตนภรณ์ แซ่ลี้

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

พิมุกต์ สมชอบ

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2558). วิทยาลัยครูปากเซ มีวิสัยทัศน์ระยะ 10 ปี (2559-2568). เวียงจันทร์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และคณะ. (2561). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกรสเปเชียลตี้ฟู้ดส์ จำกัด. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 55-69.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำ สังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทองใบ สุดชารี. (2551). การวิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นวินดา กิตติศุภธีรดา. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานกรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัลลภ จิระโร. (2563). แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร. วารสารการวัดและประเมินผล สถิติ และ

การการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 1(2), 33-44.

ยุพาพร จันทร ธีรวัตร ภูระธีรานรัชต และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2), 16-30.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์. (2561). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 221–244.

สุพรรณิกา รุจิวณิชย์กุล นพรัตน์ ชัยเรือง และวันฉัตร ทิพย์มาศ. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 30-37.

สุรารักษ์ สุพัฒนมงคล และวันทนา เนาว์วัน. (2562). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทนิโปร จำกัด (ประเทศไทย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 17-24.

Khan, A. et al. (2017). Factors Affecting Employee Motivation Towards Employee Performance:

A Study on Banking Industry of Pakistan. Springer International, 8(3), 614-625.

Mohammad, F. (2016). The Impact of Motivation on the Performance of Employees A Research-Based Case Study in a High School in Bangladesh. Northampton Shire: University of Northampton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29