องค์ประกอบเชิงสำรวจและตัวบ่งชี้พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
องค์ประกอบเชิงสำรวจ, พฤติกรรมการซื้อ, อาหารเสริมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจและตัวบ่งชี้พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาจากผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและอาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งที่มีรายชื่อและไม่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจังหวัดสมุทรปราการ เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ตามเงื่อนไขของการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค Exploratory Factor Analysis เลือกวิธีสกัดปัจจัยแบบ Principle Component Analysis (PCA) และหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธี Orthogonal Rotation แบบ Varimax ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบเชิงสำรวจและตัวบ่งชี้พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
มี 6 องค์ประกอบ 35 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 ผู้มีความละเอียดรอบคอบ มีจำนวน 11 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ผู้ที่ต้องการความมั่นใจ ภักดีต่อตราสินค้า มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ผู้คำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่า มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ผู้ที่ชอบความสะดวก มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ผู้ที่เอาใจใส่ตัวเองและสังคม มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 ผู้ที่ชอบทดลองและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ จากผลการวิจัยนี้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเลือกตลาดเป้าหมายและนำเสนอกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เต็ดตราแพ้ค เผยผลสำรวจผู้บริโภควิถีใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมขยะสุขภาพ.
สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12).
กรุงเทพฯ: สามลดา.
กิตติพิชญ์ เพ็ชรปาน. (2561). พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กุลฑลี รื่นรมย์. (2549). การวิจัยการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรพันธ์ ใจเจตน์สุข. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ประเภทการขึ้นทะเบียน อ.18 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,
(1), 80-92.
เจะซัยนัล มุหะมะสาเล็ม. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการติดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
ในตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา, 6(1), 73-88.
ชาญชัย ชัยประสิทธิ์. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคกับความคาดหวังต่อธุรกิจที่เปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด.
สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.pwc.com/th/en/pwc/.
ณัฐชนา ศรีวิทยา. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภาวรรณ คณานุรักษ์. (2559). กลยุทธ์การตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
นิยม กริ่มใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชัน เบบี้บูม ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 6(2), 1-16
มนัสชนก ไชยรัตน์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสรักสุขภาพจากโควิด. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566 จาก https://www.kasikornbank.com/SiteCollectionDocuments.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร