ESG เครื่องมือที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวและยั่งยืนให้กับธุรกิจ
คำสำคัญ:
การเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจ, ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, สภาเศรษฐกิจโลก, Sustainable Growth for Business, ESG (Environmental, Social, Governance, Sustainable Development Goals, World Economic Forumบทคัดย่อ
จากวิกฤตที่โลกต้องเผชิญในปัจจุบันการอุปโภคบริโภคอย่างสิ้นเปลืองของมนุษย์ส่งผลให้ทรัพยากรทั่วโลกเข้าสู่สภาวะขาดแคลน ประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการเสียสมดุลทางชีวภาพ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมที่ขยายวงกว้างมากขึ้น รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากรายงานความเสี่ยงประจำปี ค.ศ. 2021 จัดทำโดย World Economic Forum (WEF) เผยให้เห็นว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า โลกของเรามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรง ความล้มเหลวของการจัดการด้านสภาพภูมิอากาศและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์ ซึ่งล้วนส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่กระทบกับภาคประชาชนเท่านั้น ยังส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจอีกด้วย เมื่อการดำเนินธุรกิจรูปแบบเดิมที่มุ่งเน้นเฉพาะผลกำไรและการลดต้นทุน อาจไม่ตอบโจทย์กับบริบทของโลกยุคปัจจุบันและอนาคตได้อีกต่อไป จึงจำเป็นจะต้องหาทางรอดและปรับตัวเพื่อให้สามารถเติบโตไปได้อย่างเกื้อกูลแก่ทุกฝ่ายและสร้างผลตอบแทนได้อย่างยั่งยืน เป็นที่มาของกรอบแนวคิดที่ใช้ขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งได้เริ่มมีบทบาทและได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานใน 3 มิติที่สำคัญ ได้แก่ 1) มิติสิ่งแวดล้อม
2) มิติสังคม และ 3) มิติธรรมาภิบาล หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ESG (Environmental, Social, Governance) วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการครั้งนี้เพื่อให้องค์กรธุรกิจ นักลงทุน ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาชน ให้ร่วมมือกันยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติ นำแนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) รวมถึงการนำนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องไปปรับใช้ เพื่อช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. (2566). การเปิดเผยข้อมูลและรายงาน
ด้านความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566 จากhttps://www.setsustainability.com/page/
disclosure.
ธนาคารกรุงเทพ เอสเอ็มอี. (2565). รู้จัก ‘ESG & SDGs’ 2 แนวคิดสร้างโอกาสและความท้าทายธุรกิจสู่
ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566 จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/esg-sdgs-sustainability.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). เป้าหมาย SDGs 17 ประการ. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566 จาก
https://science.mahidol.ac.th/sdgs/sdgs-17/.
สถาบันไทยพัฒน์. (2566). Environmental, Social, and Governance (ESG). สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566 จาก https://www.thaicsr.com/2021/01/environmental-social-and-
governance-esg.html.
สหประชาชาติ ประเทศไทย. (2566). งานของเราเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย.
สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566 จาก https://thailand.un.org/th/sdgs.
United Nations, Department of Economic and Social Affairs. (2023). Sustainable Development. Retrieved 23 March 2023 from https://sdgs.un.org/goals.
World Federal of Exchanges. (2018). WFE ESG Revised Metrics June 2018. Retrieved 23 March 2023 from https://www.world-exchanges.org/our-work/articles/wfe-esg-revised-metrics-june-2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร