การบริหารจัดการองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการองค์กร, อิทธิพล, ความผูกพันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการองค์กร และระดับของความผูกพัน
ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจะเป็นบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 149 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ในการวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรมีภาพรวมอยู่ใน
ระดับสำคัญมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.92 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จะพบว่า อยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด คือ
ด้านการจัดองค์กร คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.31 และอยู่ในระดับสำคัญมาก ได้แก่ ด้านงบประมาณ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.92 ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.87 และด้านวัสดุและอุปกรณ์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.61จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร ในด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านวัสดุและอุปกรณ์ และด้านการจัดองค์กร มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่วนด้านงบประมาณไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
References
กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลเกี่ยวกับกรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/dhrm.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2541. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.
นาตยา แก้วพิภพ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566 จากhttps://hpc.go.th/rcenter.
พิสมัย เหล่าไทย. (2560). ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
มัทนา วิไลลักษณ์. (2560). การจัดการองค์กรทางศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษา มูลนิธิดุริยประณีต.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). แนวคิดและความหมายของการบริหารและการบริหารจัดการ.
สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2566 จาก http://www.wiruch.com.
ศิริรัตน์ ตันไสว. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก,
(3), 1-16.
Hair, J.F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill Book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร