การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยง กรณีศึกษา สวนสัตว์อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กมลชนก เจือจันทร์
  • ธารชุดา พันธ์นิกุล

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, การควบคุมภายใน, สวนสัตว์, ซีโอเอสโอ, อีอาร์เอ็ม 2017

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้จริงกับหน่วยงานกรณีศึกษา คือ สวนสัตว์อุบลราชธานี ตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยงในองค์กร ประเมินระดับความเสี่ยง และจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้ความเสี่ยงต่าง ๆ มีระดับลดลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของฝ่ายต่าง ๆ 6 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายพัฒนาสวนสัตว์ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายบำรุงสัตว์ และฝ่ายอนุรักษ์วิจัยและสุขภาพสัตว์ โดยให้บุคลากรในแต่ละฝ่ายทำการระดมสมอง เพื่อระบุความเสี่ยงโดยวิเคราะห์แยกประเภทความเสี่ยงทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการดําเนินงาน ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ

ผลการระบุความเสี่ยงในฝ่ายต่าง ๆ สรุปได้ว่าสวนสัตว์อุบลราชธานีมีความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ จำนวน 12 ข้อ  ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานจำนวน 116 ข้อ ความเสี่ยงด้านการเงิน 4 ข้อ และความเสี่ยงด้าน
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ จำนวน 6 ข้อ และจากการประเมินความเสี่ยง ดำเนินการทบทวนและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงแล้ว สรุปผลได้ดังต่อไปนี้ ความเสี่ยงในระดับสูงมาก จากเดิมจำนวน 28 ข้อ ลดลงเหลือ 4 ข้อ ความเสี่ยงระดับสูง จำนวน 65 ข้อ ลดลงเหลือ 11 ข้อ ความเสี่ยงปานกลางจากจำนวน 26 ข้อ เพิ่มเป็น 54 ข้อ และความเสี่ยงต่ำจากจำนวน 19 ข้อ เพิ่มเป็น 69 ข้อ เนื่องจากความเสี่ยงระดับสูงและสูงมาก ลดระดับลงมาอยู่ในระดับกลางและระดับต่ำแทน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ หากสวนสัตว์อุบลราชธานีต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง ควรมีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงในความเสี่ยงที่เหลือ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 ต่อไป

Author Biographies

กมลชนก เจือจันทร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธารชุดา พันธ์นิกุล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร COSO Enterprise Risk Management 201. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(42), 111-124.

ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม. (2558). ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงองค์กร. Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 1–15.

ปิยะนุช แสงสาย และอภิรดา สุทธิสานนท์.(2559). การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการดำเนินงานของระบบงานสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากรจากหน่วยงานราชการกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สถาบันวิจัยและพัฒนา, 11(2), 53–64.

มโนชัย สุดจิตร. (2559). การนำการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การมาสนับสนุนการการบริหารจัดการคุณภาพภาครัฐ. วารสารสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 6(1), 1–19.

ลลิตา หงษ์รัตนวงศ์. (2557). การเปรียบเทียบแบบจำลองมูลค่าความเสี่ยงในการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(ฉบับพิเศษ), 236-243.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์,

(2),1–11.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2565). แผนบริหารจัดการความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.sepo.go.th/assets/document/file/17-02-2565-v1.pdf?fbclid=IwAR2CbskEch6C0_yX93UZLIEXj9KL5Zrr_FzmJ6FlVp9Qglh4jBEil5y8CNQ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก https://www.sme.go.th/upload/ mod_download/download-0220422140751.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30