การพัฒนายกระดับรายได้เกษตรกรบ้านกกตูม กกกอก เกษตรสมบูรณ์ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • นันทกาญจน์ เกิดมาลัย
  • ชนินทร์ วะสีนนท์
  • วราธร พรหมนิล
  • เมธาวี ยีมิน
  • นิรมล เนื่องสิทธะ
  • พัลลภ จันทร์กระจ่าง

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การยกระดับรายได้

บทคัดย่อ

       การวิจัยพัฒนายกระดับรายได้เกษตรกรบ้านกกตูม กกกอก เกษตรสมบูรณ์ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทรัพยากรชุมชนพื้นที่บ้านกกตูม กกกอก เกษตรสมบูรณ์ และเพื่อยกระดับรายได้จากความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มกับทรัพยากรชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ใช้การสังเกต การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์

       ผลการศึกษาศักยภาพทรัพยากรชุมชนของพื้นที่บ้านกกตูม กกกอก และเกษตรสมบูรณ์ พบว่า สภาพและข้อจำกัดของกลุ่มเป้าหมาย 15 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทำนา ทำไร่มัน สวนยาง ทอผ้าทำผ้าขาวม้า วิถีชีวิตความเป็นอยู่ทำการเกษตรเป็นหลัก ศักยภาพมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นพื้นที่เชิงเขา 3 ลูก ภูหลวง ภูตากมอง ภูหินเหล็กไฟ
3 ถ้ำ ห้วยทราย ห้วยบังทราย ห้วยกะซะ ผลการยกระดับรายได้จากการให้ความรู้ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ เกิดการสร้างกลุ่มผู้ประกอบการใหม่จากบ้านกกตูม กกกอก และเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกกตูม จัดตั้งชื่อกลุ่ม “สามกกสมบูรณ์” กำหนดตราผลิตภัณฑ์ในชื่อ “ภูหลวง” ผลิตภัณฑ์ใหม่ คือเห็ดสามรส ใช้วัตถุดิบจากฐานทรัพยากรของชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จำนวน 2,097 บาท (สูงสุด 12,000 บาท ต่ำสุด 800 บาท) ซึ่งมีส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น จำนวน 24,000 บาท เฉลี่ยรายได้ที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ต่อปี

Author Biographies

นันทกาญจน์ เกิดมาลัย

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชนินทร์ วะสีนนท์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วราธร พรหมนิล

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

เมธาวี ยีมิน

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นิรมล เนื่องสิทธะ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

พัลลภ จันทร์กระจ่าง

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

References

กันยารัตน์ รินศรี. (2562). ศาสตร์พระราชากับการประกอบอาชีพในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารธรรมวิชญ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, 2(2), 257-268.

ชุลีกร เทพบุรี และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 50-58.

ฑิตยา ตันเจริญ. (2561). อิทธิพลของสีบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวกล่องพร้อมรับประทาน.

วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไตรรัตน์ มาศตุเวช และคณะ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเพาะเห็ดฟาร์มในชุมชน กรณีศึกษาฟาร์มเห็ดดาบตำรวจวิเชียร คงจุ้ย หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(2), 1-16.

แน่งน้อย บุญยเนตร. (2562). กลยุทธ์การตั้งชื่อตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 23(1), 245-259.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภูษณิศา โทษาธรรม. (2563). เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. สัมภาษณ์. 15 พฤศจิกายน 2565.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, An Introduction. (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Mccarthy, E. J. & Perreault, W. D. (1991). Essential of Marketing. (5th ed.). Boston: E. Jerome McCarthy and Associates.

Phuangsomjit. (2014). Participatory Action Research on Research in Educational Administration. (3rd ed.). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30