การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนมันเทศญี่ปุ่นโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ชุมชนนาเจริญ-นากระตึบ ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ ปิ่นคำ
  • ลลิตา พิมทา

คำสำคัญ:

การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน, มันเทศญี่ปุ่น, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

       งานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบและแปลงสาธิตทดลอง และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบมันเทศญี่ปุ่น ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดจำหน่าย 1 คน สมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนนาเจริญ-นากระตึบ 10 คน อาจารย์มหาวิทยาลัย 1 คน นักศึกษา 10 คน รวมจำนวน 26 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม 26 ชุด
การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล

ศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่ในระดับมาก ในด้านความมีชื่อเสียง ด้านคุณค่าผลิตภัณฑ์ และด้านกิจกรรมการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมันเทศญี่ปุ่นต้นแบบ ตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาด 4C’s คือ (1) ด้านการรับรู้ปัญหาของลูกค้า การพัฒนาตราสินค้า การสร้างชื่อตราสินค้า โลโก้ ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ (2) ด้านต้นทุนของลูกค้า การตั้งราคาที่สอดคล้องกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ (3) ด้านความสะดวกของลูกค้า การสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุม (4) ด้านการสื่อสารการตลาดให้เกิดพฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจอย่างสูงสุด การยกระดับผลิตภัณฑ์ต้นแบบมันเทศญี่ปุ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เช่น ด้านการสื่อสารการตลาด ด้านความสะดวกของลูกค้า และด้านต้นทุนของลูกค้า สมาชิกชุมชนยอมรับและเข้าใจวิธีการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาแปลงสาธิตร่วมกัน จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำพาความสำเร็จ การเรียนรู้การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ความเชื่อมั่นในผู้นำชุมชนที่มีความสามารถจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก

Author Biographies

สิรวิชญ์ ปิ่นคำ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ลลิตา พิมทา

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

References

กศิพัฎญ์ ทองแกม และโฆสิต แพงสร้อย. (2562). ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการขายสินค้าโอทอปบนตลาด

ออนไลน์เชิงพุทธในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4627-4644.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลกาญจน์ สถะบด. (2565). การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้า OTOP โดยใช้กลยุทธ์การตลาดน่านน้ำสีฟ้า

สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 178-210.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สำนักนายกรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 21

กรกฎาคม 2566 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง

จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 155-166.

สุภาพร พรมมะเริง. (2561). แนวทางการยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารของ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านริมร่อง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1), 248-258.

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. (2562). การยกระดับผลิตภัณฑ์โอทอปน้ำพริกพ่ออนงค์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎี

ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (4C’s). การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร ครั้งที่ 6. (765-775). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อัตถ์ อัจฉริยมนตรี. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และแปลงสาธิตเพื่อผลิตพืชผักพื้นบ้าน

ปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรชุมชนช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนา

ชุมชนลคุณภาพชีวิต, 5(1), 118 – 128.

อรรถพร สร้อยระย้า และคณะ. (2565). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอโบราณลาว

ซี-ลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน วิรัตน์ ปิ่นแก้ว (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติ

“การวิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World

ครั้งที่ 14” (1776-1787). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30