ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29
คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจ, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 จำแนกตามข้อมูลผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 จำนวน 333 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ หรือ ANOVA และ LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยได้คะแนนในภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 28.77 คะแนน จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน เมื่อแยกตามรายด้าน พบว่า ด้านข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ได้คะแนนเฉลี่ย 10.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน ด้านการคำนวณภาษี ได้คะแนนเฉลี่ย 10.31 คะแนน จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน ด้านการชำระภาษี ได้คะแนนเฉลี่ย 4.93 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน และด้านบทลงโทษ ได้คะแนนเฉลี่ย 3.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน 2) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ที่มีระดับการศึกษา ประเภทธุรกิจออนไลน์ ระยะเวลาในการดำเนินกิจการ แหล่งที่มาของรายได้หลักและช่องทางการยื่นเสียภาษีแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะช่วยให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง
กลยุทธ์การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ต่อไป
References
กรมสรรพากร. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.
กรมสรรพากร. (2565). กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce). สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.rd.go.th/53537.html.
กรมสรรพากร. (2565). ประเด็นสำคัญทางภาษี. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.rd.go.th/
html.
กรมสรรพากร. (2565). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก https://www.rd.go.th/
html.
กาญจนา สมัครการ. (2565). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานบริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นพวรรณ คงสัญ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบและการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: กรณีศึกษาอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วลัยพร แก้วสาร. (2562). ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 3. งานนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29. (2565). รายงานการประชุมการบริหารการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29.
Bloom, B . S. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York, NY: McGraw- Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร