ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้แต่ง

  • จรรยา ชูทับ
  • อรจันทร์ ศิริโชติ

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร, บุคลากรสายสนับสนุน, มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 248 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของ Least -Significant Different (LSD)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านจิตใจ ด้านบรรทัดฐาน และด้านการคงอยู่ในองค์กร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณที่มีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมแตกต่างกันที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .897 และผลการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธี LSD พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพ และรายได้ มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ทั้ง 3 ด้าน คือด้านจิตใจด้านการคงอยู่ในองค์กร และด้านบรรทัดฐาน และอายุมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกันในด้านจิตใจและด้านการคงอยู่ในองค์กร

Author Biographies

จรรยา ชูทับ

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อรจันทร์ ศิริโชติ

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

References

จีรพัฒน์ พฤฒิสืบ และมนฤตย์พล อุรบุญนวลชาติ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 133-138.

ปณิธาน จิยะจันทน์ และชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2561). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 1-17.

ปรารถนา หลีกภัย. (2563). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดตรัง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 132-146.

มหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล. (2565). สถิติบุคลากร 1 กันยายน 2565. สืบคืนเมื่อ 12 กันยายน 2565 จาก https://cms.tsu.ac.th/cmsFiles/capr/menu/

f745deb731bcfbe66575c962ced8480d.pdf.

มหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายแผนงาน. (2566). แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยทักษิณ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570). สืบคืนเมื่อ 12 กันยายน 2565 จาก https://drive.google.com/file/d/1HiFsYcS9MT

SZ8hw7ELPS0Hbh3mrc NtX/view.

อิศรา ศิรมณีรัตน์ และคณะ. (2560). ปัจจัยด้านส่วนบุคคลและปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารราชภัฏเพชรบูรณสาร, 19(2), 37-43.

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective,

Continuance and Normative Commitment to the Organization. Journal of

Occupational Psychology, 63(1), 1–18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30