ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ ในเทศบาลแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในเทศบาลแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรภาครัฐในเทศบาลแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน แผนกที่ปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติงานในเทศบาลแขวง
เซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ค่าสถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวด้วยการทดสอบเอฟ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านบรรทัดฐานของสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านคุณภาพของงาน ค่าที่พยากรณ์ได้ร้อยละ 38 ปัจจัยด้านบรรทัดฐานของสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านปริมาณงาน ค่าที่พยากรณ์ได้ร้อยละ 23 ปัจจัยด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐานของสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเวลาที่ใช้ในการทำงาน ค่าที่พยากรณ์ได้ร้อยละ 31 และ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยด้านส่วนบุคคล อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐานของสังคม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กัณฐิกา สุระโคตร. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู โรงเรียนขนาดกลาง ในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
จีระวุฒิ สุขผล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสวัสดิการกับความผูกพันในองค์กรตามความคิดเห็นของพนักงานอู่ช่อมบำรุงรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชุติมา ทองคำพันธุ์. (2560). การเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคคลากร ในองค์การบริหาร
ส่วนตำบล เทศบาลตำบล และเทศบาลเมือง ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถาวร อ่อนละออ. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พระนคร.
นริศรา จินดาพันธ์. (2559). ความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนลำปางกัลยาณี
อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 35-42.
บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การความจงรักภักดีต่อองค์การและ
ผลการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุศรา ก้อนทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานเทศบาลนครสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุกัญญา สุธรรมวงศ์. (2559). ความผูกพันธ์ต่อองค์การของพนักงาน บริษัท มิลเลนเนียม ออโต้ จำกัด.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานภายใน แขวงเซกอง. (2563). แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แขวงเซกอง 2563. แขวงเซกอง: สำนักงานภายในแขวงเซกอง.
อารีรัตน์ สีขาว. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ธนาคารกสิกรไทย (มหาชน) ศูนย์ธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ 1. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อำนวยพร บำรุงบุญ. (2559). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1–18.
Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Managers in Work Organizations. Administrative Science Quarterly, 19, 533-546.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร