ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์, การสนับสนุนของผู้บริหาร, ความสามารถขององค์กร, คุณภาพการบริการ, คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีจำนวน 361 บริษัทในประเทศไทย ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมในปี พ.ศ. 2565 และวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างตามสมมติฐานพบว่า โมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=574.59, df=298, RMSEA=.51, CFI=.970, CMN/DF= 1.928) และผลการทดสอบสมติฐานการวิจัยครั้งนี้พบว่าการสนับสนุนผู้บริหาร ความสามารถขององค์กร คุณภาพการบริการ และคุณภาพของระบบ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์จากการใช้ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานของระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ และการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจจากการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ อีกทั้งความพึงพอใจจากการใช้มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพจากการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ ในทางตรงกันข้ามผลการวิจัยพบว่าแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลเชิงลบต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ซึ่งมีความขัดแย้งกับงานวิจัยในอดีตเป็นส่วนใหญ่
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชนิกา ลักขณาศิริวัตร. (2560). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ด้านราคาและคุณภาพระบบต่อการใช้งานความ
พึงพอใจการกลับมาซื้อซ้ำและการบอกต่อของลูกค้าที่จองที่พักผ่านผู้ให้บริการเว็บไซต์ในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.
มธุรส ผ่านเมือง. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 349-368.
สุกัญญา คลังทอง สุพิน ฉายศิริไพบูลย์ และอัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์การรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์และความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 100-116.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ม.ป.ป. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565 จาก https://data.go.th/dataset/https-sme-go-th-th-page-php-modulekey-348.
DeLone, W. H. & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten-Year Update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.
Dulmini, S. P., Nadarajah, R. & Epitawalage, K. U. (2021). Determinants of Adoption of Cloud-based Accounting: A Paradigm Shift in Sri Lanka. Asian Journal of Management Studies, 1(1), 103-127.
Eldalabeeh, A. R. et al. (2021). Cloud-based Accounting Adoption in Jordanian Financial Sector. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(2), 833-849.
Gunawan, F., Ali, M. M. & Nugroho, A. (2019). Analysis of the Effects of Perceived Ease of Use and Perceived Usefulness on Consumer Attitude and Their Impacts on Purchase Decision on PT Tokopedia in Jabodetabek. European Journal of Business and Management Research, 4(5), 1-6.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.).
New Jersey: Pearson Education International.
Ke, C. H., Sun, H. M. & Yang, Y. C. (2012). Effects of User and System Characteristics on Perceived Usefulness and Perceived Ease of Use of the Web-Based Classroom Response System. Turkish Online Journal of Educational Technology-TOJET,
(3), 128-143.
Khanom, T. (2017). Cloud Accounting: a Theoretical Overview. IOSR Journal of Business and Management, 19(6), 31-38.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press.
Lutfi, A. (2022). Understanding the Intention to Adopt Cloud-based Accounting Information System in Jordanian SMEs. International Journal of Digital Accounting Research, 22, 47-70.
Lutfi, A. et al. (2022). The Role of E-accounting Adoption on Business Performance: The Moderating Role of COVID-19. Journal of Risk and Financial Management, 15(12), 617-636.
Na, S. et al. (2022). Acceptance Model of Artificial Intelligence AI-based Technologies in Construction Firms: Applying the Technology Acceptance Model (TAM) in Combination with the Technology–Organization–Environment (TOE) Framework. Buildings, 12(2), 1-17.
Rawashdeh, A. & Rawashdeh, B. (2023). The Effect Cloud Accounting Adoption on Organizational Performance in SMEs. International Journal of Data and Network Science, 7(1), 411-424.
Sastararuji, D. et al. (2022). Cloud Accounting Adoption in Thai SMEs Amid the COVID-19 Pandemic: An Explanatory Case Study. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 11(1), 1-25.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2004). A beginner's Guide to Structural Equation Modeling (3rd ed.). New York: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Zebua, S. & Widuri, R. (2023). Analysis of Factors Affecting Adoption of Cloud Accounting in Indonesia. Journal of Theoretical and Applied Information Technology, 101(1), 86-105.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร