ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • แพรวไพลิน จันทรโพธิ์ศรี
  • วิชนี เอี่ยมชุ่ม
  • เบญจมาภรณ์ สมบัติธีระ

คำสำคัญ:

หนี้ของครัวเรือนเกษตร, ปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์การถดถอยโทบิท (Tobit Regression)

       จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีสถานะมีหนี้จำนวน 311 ครัวเรือน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนหนี้สินของครัวเรือนภาคเกษตร คือ อายุ สถานภาพสมรส ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนต่อปี ขนาดที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกการมีที่ดินทำการ เกษตรเป็นของตนเอง พฤติกรรมการเล่นการพนัน พฤติกรรมทางการเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้ของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ ทางผู้วิจัยแนะนำให้ภาครัฐควบคุมค่าครองชีพและต้นทุนทำการเกษตร รวมทั้งการควบคุมดูแลให้การพนันเข้าถึงยากมากขึ้น รวมทั้งภาครัฐควรส่งเสริมพฤติกรรมทางการเงินให้เกษตรกรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดหนี้สินของเกษตรกร

Author Biographies

แพรวไพลิน จันทรโพธิ์ศรี

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วิชนี เอี่ยมชุ่ม

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เบญจมาภรณ์ สมบัติธีระ

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กวิน มุสิกา สุชนนี เมธิโยธิน และ บรรพต วิรุณราช. (2562). แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย.

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 7(1), 111-125.

กานต์มณี การินทร์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้ครัวเรือนในสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ของเกษตรกรในเขตตําบลสะแกโพรง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 458-472.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ก่อหนี้อย่างไร ให้เกิดความมั่งคั่ง. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566 จาก https://www.set.or.th/th/education-reserach/education/happymoney/ knowledge/article/ 96-tsi-how-to-be-in-debt-to-be-wealthy.

ปทุมรัตน์ สนสุด ณัฐกิตติ์ กริตสารนันท์ และ สุธิพงษ์ โตฉิม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรหมู่ที่ 7 บ้านท่าช้าง ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 808-824.

ปัณภ์ปวีณ รณรงค์นุรักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ข้าว และมันสำปะหลัง: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และเพชรบุรี. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พลากร ดวงเกตุ. (2565). หนี้สินครัวเรือนเกษตรของประเทศไทย: ความท้าทายต่อเนื่อง. Journal of Demography, 38(1), 60-71.

พิมพ์ชนก กระตุปัญญา ภิรดา ชัยรัตน์ และ ศรีรัฐ โกวงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565 จาก https://so06.tcithaijo.org/index.php/jomld/article/download/247885/168877.

พิสัณฑ์ โบว์สุวรรณ และคณะ. (2565). ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 265-277.

ศิรณัฎฐ์ กาพย์พิมาย. (2560). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้างชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขานครไทย หน่วยอำเภอนครไทย1 จังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิรินภา โภคาพานิชย์ และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษตาปริทรรศน์ มจร. 5 (พิเศษ), 192 -201.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์. (2566). หนี้ครัวเรือนไทย วิกฤติแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566 จาก https://projects.pier.or.th/household-debt.

สุริยะ หาญพิชัย เฉลิมผล จตุพร และวสุ สุวรรณวิหค. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 309-320.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). (ร่าง)แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดมหาสารคาม (พ.ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565 จาก https://www.opsmoac.go.th/

mahasarakham-dwl-files-451991791105.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565 จาก http://ddi.nso.go.th/index.php/catalog/220.

อภินันท์ ฉิมย้อย มยุรี รัตนเสริมพงศ์ และวาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 283-29.

Atkinson, A. & Messy, F. (2012). Measuring Financial Literacy: Results of the OECD/ International Network on Financial Education (INFE) Pilot Study. Retrieved December 20, 2022, from http://dx.doi.org/10.1787/5k9csfs90fr4-en.

Best. J. W. (1981). Research in Education. (4thed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30