สภาพปัญหาและการพัฒนายกระดับรายได้วิสาหกิจชุมชนผงผักสู่ผลิตภัณฑ์ชงดื่ม ตามเกณฑ์มาตรฐานเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • นันทกาญจน์ เกิดมาลัย
  • ชนินทร์ วะสีนนท์
  • นิรมล เนื่องสิทธะ
  • สาคร อินทะชัย

คำสำคัญ:

การพัฒนายกระดับรายได้, ผงผัก, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนายกระดับรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทำผงนัวบ้านยางโล้นสู่ผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามเกณฑ์มาตรฐานเชิงพาณิชย์ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต กลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทำผงนัวบ้านยางโล้น ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ผู้ผลิตวัตถุดิบ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 30 คน สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอการวิจัยแบบการพรรณนา

       ผลการวิจัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมผงผักปรุงรส “ผงนัวยางโล้น” เป็นผลิตภัณฑ์หลักผลิตจากวัตถุดิบพืช ผัก สมุนไพร จำนวน 13 ชนิด ด้วยวิธีตากแห้ง แล้วบดละเอียด ใช้ทำให้รสชาติอาหารกลมกล่อม ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ผงผักปรุงรสสูตรดั้งเดิม สูตรเจ และผงปิ้งย่าง ลักษณะสภาพและปัญหาผงผักปรุงรสเป็นผงสีเขียวกลิ่นผักเข้มไม่พึงประสงค์ ไม่ละลายน้ำ ข้อจำกัดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า วัตถุดิบปลูกตามครัวเรือนกลุ่มสมาชิก พึ่งพิงน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นหลัก น้ำเพาะปลูกวัตถุดิบไม่เพียงพอ ใช้น้ำใต้ดินพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟด้วยน้ำมันเบนซิน ด้านกระบวนการผลิต อุปกรณ์ชั้นตากวัตถุดิบเสื่อมสภาพ ผุ กร่อน เกิดสนิมเนื่องจากวัสดุเป็นเหล็ก ผลิตภัณฑ์ยังไม่ผ่านการตรวจวัดคุณภาพ การตลาดลูกค้าเป้าหมายเน้นกลุ่มผู้รักสุขภาพ ด้านผลผลิต ตราผลิตภัณฑ์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตราสินค้าถูกต้องตามกฎหมาย ช่องทางการจำหน่ายออฟไลน์การแสดงสินค้าตามงานภาครัฐจัดขึ้น สื่อออนไลน์ โฆษณา คลิป วีดีโอ ยังมีไม่มาก  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สร้างมูลค่าเพิ่ม จากผักโขมสดกิโลกรัมละ 35 บาท เมื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ บิวติ-วี-ดริ้ง (Beauti-V-Drink) สามารถเพิ่มช่องทาง
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายขึ้นและยังเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 2,500 บาท เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จำนวน 25,000 – 60,000 บาท/ปี ซึ่งมีส่วนต่างเพิ่มขึ้น จำนวน 35,000 บาท เฉลี่ยรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35 ต่อปี

Author Biographies

นันทกาญจน์ เกิดมาลัย

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชนินทร์ วะสีนนท์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นิรมล เนื่องสิทธะ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สาคร อินทะชัย

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). ธุรกิจผลิตอาหารจากผักและผลไม้. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก https://www.doae.go.th/index.php.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2560). ข่าวเด่นเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์รายสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก ttps://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename contentsattach/กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565). คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตาม

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้กฎหมาย (GMP 420) ตามประกาศกระทรวง

สาธารณสุข (ฉบับที่ 420 พ.ศ.2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

เรื่อง วิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร. กรุงเทพฯ: กองอาหาร.

กัลยา นามสังข์ และคณะ. (2562). ศึกษาพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่นพัทลุงเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผัก

แผ่น ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชนินทร์ วะสีนนท์ และคณะ. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

ด้านการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ผงนัว บ้านยางโล้น ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน

จังหวัดสกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชนินทร์ วะสีนนท์. (2560). การพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต วางแผนการตลาดผงนัว

สกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชุลีกร เทพบุรี และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 50-58.

ดวงพร ภู่พะกา. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน

วิทยาศาสตร์สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้มาตรฐาน: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด

ฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.),

(1), 116-145.

ธวัชชัย สุวรรณสาร. (2556). เทคนิค 5 ข้อการทำเนื้อหาทางการตลาด CONTENT MARKETING แบบ

ไอน์สไตน์. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก http://www.coachtawatchai.org/2013/07/5-

contentmarketing.html/ธวัชชัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2555). อาหารเป็นยา: “เห็ด” อาหารต้านโรคร้าย. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก https://mgronline.com/dhamma/detail/ผู้จัดการออนไลน์.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร. (2559). ร่างแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี พ.ศ. 2561 – 2564. สืบค้นเมื่อ

เมษายน 2565 จาก https://sakonnakhon.go.th/สำนักงานจังหวัดสกลนคร.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30