การพัฒนานักสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เอมีลี่ เวสท์บรุค

คำสำคัญ:

นักสื่อสารชุมชน, การเล่าเรื่อง, การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและวิเคราะห์บริบทชุมชนท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 2) ค้นหาเรื่องเล่าของชุมชนท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี 3) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการสร้างนักสื่อสารชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี และ 4) พัฒนา
นักสื่อสารชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยว 300 คน และผู้นำชุมชน 100 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ข้อมูลเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถามสำหรับนักท่องเที่ยว การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้นำชุมชน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุ 36-45 ปี มีการศึกษาปริญญาโท อาชีพข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้เฉลี่ย 30,001-50,000 บาท ซึ่งเหมาะสมกับกิจกรรมที่เน้นคุณภาพและความคุ้มค่า ในการเดินทาง ผู้ตอบส่วนใหญ่เดินทางกับคู่รัก ใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน ใช้เวลาเดินทาง 1 วัน และได้รับข้อมูลจากญาติหรือเพื่อน ส่วนกิจกรรมยอดนิยมคือการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนและการรับประทานอาหาร 2) เรื่องเล่าโดดเด่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ เรื่องเล่าทางวัฒนธรรม เรื่องเล่าทางธรรมชาติ และเรื่องเล่าทางวิถีชีวิต 3) การกำหนดเกณฑ์การสร้างนักสื่อสารชุมชน ประกอบด้วย ทักษะด้านการเล่าเรื่อง การถ่ายทอดการเล่าเรื่อง และการฝีกอบรม 4) ผลการฝึกอบรมแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการเล่าเรื่องของนักสื่อสารชุมชนเพิ่มขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ยจากแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 4.5 และทักษะการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 85 ของนักสื่อสารสามารถผลิตและเผยแพร่เนื้อหาบนโซเชียลมีเดียได้ด้วยตนเอง

Author Biography

เอมีลี่ เวสท์บรุค

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

คงศักดิ์ วัฒนธรรม. (2566). บทบาทของผู้หญิงในด้านการจัดการเวลาและทรัพยากรในการท่องเที่ยว. วารสารการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมไทย, 15(2), 50 - 64.

ณิชาภา อนุรักษ์ศิลป์. (2566). การเดินทางแบบครอบครัวและการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในแหล่งท่องเที่ยวชนบท. วารสารสังคมวิทยาและการท่องเที่ยว, 20(1), 89 - 104.

ธีระชัย พิทักษ์ทรัพย์. (2567). การเดินทางกับคู่รักและการใช้รถยนต์ส่วนตัวในการท่องเที่ยว. วารสารวิจัยการท่องเที่ยว, 12(1), 112 - 127.

นภัสสร โชควิจิตร. (2567). การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนในพื้นที่ชนบทและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และการท่องเที่ยว, 23(3), 34 - 49.

พรทิพย์ พูลสวัสดิ์. (2566). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชน. วารสารการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมไทย, 18(2), 55 - 68.

ไพฑูรย์ มากสุข. (2557). การพัฒนารูปแบบการใช้วิทยุออนไลน์ร่วมกับวิทยุชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สมฤดี อนุพันธุ์. (2566). การสื่อสารข้อมูลการท่องเที่ยวที่ถูกต้องและตรงประเด็น: อำเภอวังน้ำเขียว

จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bertella, G. & Rinaldi, M. D. (2020). Learning Communities and Co-Creative Tourism Practices in NGDO Projects. Journal of Sustainable Tourism, 29(4), 639 - 657.

Canosa, A., Wilson, E. & Graham, A. (2020). Storytelling in Community Tourism: An Approach to Increasing Engagement and Sustainability. Journal of Tourism Research, 45(2), 98 - 112.

Chomphu, P. & Jitkham, S. (2021). Community-Based Tourism Management in Northeastern Thailand: A case study of Ubon Ratchathani Province. Journal of Tourism Research, 12(1), 45 - 59.

Hall, C. M. & Page, S. J. (2024). Marketing and Communication in Tourism: Using Media for Destination Branding. Journal of Tourism Marketing, 32(2), 45 - 62.

Jepson, D. & Sharpley, R. (2023). Community-Based Tourism: Enhancing Communication Skills for Tourism Development. Journal of Tourism Development, 14(1), 112 - 127.

McGinnis, M., Reif, L. & McDonald, K. (2020). Local Community Participation in Sustainable Tourism. Tourism Review, 75(5), 109 - 126.

Ooi, S. Y. & Shelley, R. (2023). Community Development and Sustainable Tourism Practices. Sustainable Tourism Journal, 23(3), 178 - 193.

Polit, D. F. & Beck, C. T. (2021). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. (11th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Pookhao, N. (2023). Enhancing Local Pride Through Community Tourism Initiatives. Asian Journal of Tourism Research, 8(1), 20 - 34.

Roberts, J. & Hall, D. (2023). Community Involvement and the Sustainability of Tourism: A Participatory Approach. Journal of Tourism Studies, 28(4), 345 - 360.

Saarinen, J. & Rogerson, C. M. (2024). Nature-Based Tourism and Destination Uniqueness in Southeast Asia. Asian Journal of Tourism Research, 12(3), 58 - 75.

Smith, J. & Williams, R. (2023). The Impact of Price Fairness on Tourist Satisfaction and Trust. Journal of Tourism and Hospitality Research, 45(2), 123 - 140.

Smith, M. & Robinson, M. (2023). Key Concepts in Tourism Research. London: Sage Publications.

Watson, P., Johnson, A. & Lee, C. (2024). Collaborative Approaches in Community-Based Tourism. Journal of Community Tourism Research, 33(1), 75 - 88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31