การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญภายหลังสถานการณ์โควิด - 19

ผู้แต่ง

  • โชฒกามาศ พลศรี
  • ศุภกัญญา เกษมสุข
  • วรรณณา ปิยะรัตน์มานนท์
  • วิลารักข์ อ่อนสีบุตร

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพจังหวัดอำนาจเจริญของผู้บริโภคภายหลังสถานการณ์โควิด - 19
2) วิเคราะห์และยืนยันองค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้สูตรทาโร่
ยามาเน่ จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไค - สแควร์ ค่า Relative Chi-Square (CMIN/DF) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงสัมพัทธ์ (CFI) ค่า RMSEA และค่า RMR

ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการตลาดทางตรง ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์และให้ข่าว ด้านการโฆษณา
และด้านการตลาดเชิงกิจกรรม การตัดสินใจซื้อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการสอบถามและตอบ ด้านการรู้จักผลิตภัณฑ์ ด้านการสนับสนุน ด้านการชื่นชอบผลิตภัณฑ์ และด้านการตัดสินใจ สำหรับผลการวิเคราะห์และยืนยันองค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ พบว่า เกิดการจับกลุ่มความสัมพันธ์ของตัวแปรใหม่เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว 2) การส่งเสริมการขาย 3) การตลาดเชิงกิจกรรม และ 4) การโฆษณา ส่วนองค์ประกอบของการตัดสินใจซื้อ เกิดการจับกลุ่มความสัมพันธ์ของตัวแปรใหม่เป็น
3 กลุ่ม ได้แก่ 1) การรู้จักผลิตภัณฑ์ 2) การสนับสนุน และ 3) การตัดสินใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 อีกทั้งการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .179

 

Author Biographies

โชฒกามาศ พลศรี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ศุภกัญญา เกษมสุข

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วรรณณา ปิยะรัตน์มานนท์

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วิลารักข์ อ่อนสีบุตร

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร. (2561). เริ่มเส้นทางการพัฒนาพืชสมุนไพรภูมิปัญญาไทยสู่ตลาดโลก. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วารสารเพื่อการเตือนภัยสินค้าการเกษตรและอาหาร, 10(1), 5 - 7.

คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติฉบับที่ 2

พ.ศ. 2566 – 2570. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ชลิดา ศรีสุนทร และดารณี ดวงพรม. (2565). การตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวของผู้บริโภค จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(2), 135-148.

ฐาปานีย์ กรณพัฒน์ฤชวี และภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(3), 111-124.

ดาราวรรณ พลนอก และนาถรพี ตันโช. (2566). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทอง. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 61-73.

ดาวเดือน อินเตชะ. (2566). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำพริกกรอบสมุนไพร บ้านเมาะหลวง อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 67-77.

ธนวัฒน์ สุทธิปรีชานนท์ และณัฏฐิญา ค้าผล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสมของเภสัชกรชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ไทย, 17(2),

-68.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นท์.

นันทนัช สิงขรณ์ และพรทิพย์ รอดพ้น. (2566). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 17(1), 249-263.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปารมิตา สุทธปรีดา และคณะ. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(1), 167-179.

พรทิพย์ โอวาท และสุมาลี สว่าง. (2564). ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดปทุมธานี. ใน วรรณี ศุขสาตร (บรรณาธิการ), การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 (1024 - 1036). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ภัทรพล ชุ่มมี. (2565). การวิเคราะห์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(8), 287-299.

รมย์ธีรา จิราวิภูเศรษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคของผู้บริโภค

ในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(2), 102-114.

ศศิ ศิริกาญจนารักษ์, อิราวัฒน์ ชมระกา และภาศิริ เขตปิยรัตน์. (2565). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ

และกลุ่มอ้างอิงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์.

วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 64-76.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม.

สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567 จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/nac/2021/

slide/ss44-lec01.pdf

สมหมาย พัฒนดิลก และกฤษฎา ตันเปาว์. (2564). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าสมุนไพร หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทสมุนไพรในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 272-289.

สำนักงานจังหวัดอำนาจเจริญ. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญ (พ.ศ. 2566 - 2570).

สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567 จาก https://amnatcharoen.go.th/index.php/

เป้าหมาย-แผนการพัฒนาจังหวัด/plan2561-2565.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). จำนวนประชากรศาสตร์ประจำปี 2566. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567

จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

สิริภัทร์ โชติช่วง และคณะ. (2565). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า

ของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์น้ำพริกหอยนางรม. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 1-27.

เอก ชุณหชัชราชัย. (2565). ปัจจัยด้านการใส่ใจสุขภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ

ชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42(4), 56-73.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2008). Marketing Management. (13th ed.). New Jersey: Pearson.

Kotler et al. (2017). Principles of Marketing (Global edition). (17th ed.). United Kingdom: Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management: The Millennium. (14th ed.).

New Jersey: Prentice Hall.

McCarthy, J. E., & Perreault, W. D. (2000). Basic Marketing, A Managerial Approach.

United States: McGrow Hill.

Shimp, T. A. (2000). Advertising, Promotion and Supplemental Aspects of Integrated Marketing Communications. (5th ed.). Orlando: Dryden Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31