ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
คำสำคัญ:
เรื่องสำคัญจากการสอบบัญชี, ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี, การสอบบัญชีบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร โดยรวบรวมข้อมูลรายงานการเงินจากงบการเงิน รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีและรายงานประจำปี (แบบ 56-1 one report) ของบริษัทจากเว็บไซต์บริษัทและเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาที่มีข้อมูลครบถ้วน จำนวนทั้งสิ้น 67 บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง ปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 เพื่อทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
จากการศึกษา พบว่าเรื่องสำคัญในการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์กับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการที่ผู้สอบบัญชีระบุเรื่องสำคัญในการตรวจสอบบัญชีมีผลทำให้การกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้พบว่า ตัวแปรควบคุม ขนาดของกิจการ และอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมมีความสัมพันธ์กับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ขนาดของกิจการ และความเสี่ยงในการดำเนินงานของกิจการที่มากขึ้นมีผลต่อการพิจารณาค่าธรรมเนียมสอบบัญชีที่สูงขึ้น และมีผลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
References
กัณฐณัฏฐกรณ์ แก้วบุญมา และคณะ (2564). คุณค่าด้านการสื่อสารของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของบริษัทในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(2), 17-30.
เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และอนุวัฒน์ ภักดี. (2562). เรื่องสําคัญในการตรวจสอบบอกอะไร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(45), 5-25.
จันทร์เพ็ญ ธงไชย (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จอมใจ แซมเพชร (2564). Communication Value of Companies Listed on Market for Alternative Investment. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 28-42.
ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2558). คุณค่าของรายงานผู้สอบบัญชีแบบใหม่, วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(32), 26 - 44.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารไทย ที่เติบโตไกลระดับโลก. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2566 จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/332-investhow-food-sector.
ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์ และสร้อยบุปผา สาตร์มูล. (2562) กระบวนการตัดสินใจรับงานของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 11-22.
ทาริกา แย้มขะมัง และคณะ (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบและอิทธิพล
ที่มีต่อค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีและอัตราผลตอบแทนผิดปกติสะสมของบริษัทจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai). วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 123-139.
นุปกรณ์ หาญภูวดล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของกิจการและคุณลักษณะงานตรวจสอบต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2(1), 96-106.
นฤนาถ ศราภัยวานิช และคณะ (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารระหว่างบุคคล การรับรู้ถึงคุณภาพการสอบบัญชีและการใช้บริการสอบบัญชีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 49-58.
ประภาศรี จำเนียรเวทย์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2559). คุณภาพของงบการเงินภาครัฐกับการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. ใน รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 11
(975-984). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปริย เตชะมวลไววิทย์. (2560). รู้จัก KAM. รู้ทันลงทุน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560, สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/ 2560/ac-post-25600210-KAM.pdf.
ปาวิณี สุดใจ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ภัชรพรรณ์ กรรโณ (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการเปิดเผยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
วรกานต์ สิงโต และดารณี เอื้อชนะจิต. (2562). เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญในการตรวจสอบกับอัตราส่วนทางการเงินของกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วฤดดา พิพัฒนกุล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วลัยพร สวัสดิ์มงคล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทในกลุ่ม SET100 ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วาสนา มณีสาย และกุสุมา ดําพิทักษ์ (2564). ปัจจัยด้านลูกค้าและปัจจัยด้านผู้สอบบัญชีที่มีผลต่อค่าธรรมเนียม
การสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 53-61.
วิรัฐถยา โพธิสิทธิ์. (2561). ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับปี 2560.
การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศดานันท์ ถาวรพจน์. (2564). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการสอบบัญชีตามหลักเกณฑ์สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 701 การสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/4x9uV7CGE1.pdf.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). Audit Quality Focus: ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี.
สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/IVYVS8rxRb.pdf.
สมพงษ์ พรอุปถัมป์ และธัญลักษณ์ วิจิตรสาระวงศ์. (2557). ร่างรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่: ความท้าทายของผู้สอบบัญชีและผู้ใช้รายงาน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 36-54.
สุรัตน์ ยาสิทธิ์. (2557). ปัญหาและอุปสรรคของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคเหนือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการตรวจสอบบัญชี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Baatwah, S. R. et.al. (2022). Does KAM Disclosure Make a Difference in Emerging Markets? An Investigation into Audit Fees and Report Lag. In International Journal of Emerging Markets, 74(1), 40-61.
Barnard, C. I. (1966). Organization and Management. Cambridge Mass: Harvard University Press.
Boonyanet, W. & Promsen, W. (2019). Key Audit Matters: Just Little Informative Value to Investors in Emerging Markets?. Creative Business and Sustainability Journal, 41(1), 153–183.
Freeman, R. & Reed, D. (1983). Stockholders and Stakeholders: A New Perspective on Corporate Governance. California Management Review, 25(1), 29-61.
Hogan, C. E. & Wilkins, M. S. (2008). Evidence on the Audit Risk Model: Do Auditors Increase Audit Fees in the Presence of Internal Control Deficiencies. Contemporary Accounting Research, 25(1), 219-242.
Kinney, W. & Libby, R. (2002) Discussion of: The Relation between Auditors’ Fees for Non-Audit Services and Earnings Management. The Accounting Review, 77(1), 107-114.
Li, H., Hay, D. & Lau, D. (2019). Assessing the Impact of the New Auditor’s Report, Pacific Accounting Review, 31(1), 110-132.
Lifschutz S., Jacobi A. & Feldshtein S. (2010). Corporate Governance Characteristics and External Audit Fees: A Study of Large Public Companies in Israel. International Journal of Business and Management, 5(3), 109-116.
Niemi, L. (2004). Auditor Size and Audit Pricing: Evidence from Small Audit Firms.
Journal European Accounting Review, 3(3), 541-560.
Simunic, D. A. (1980). The Pricing of Audit Services: Theory and Evidence. Journal of Accounting Research, 18(1), 161-190.
Zeng, Y. et al. (2021). Key Audit Matters Reports in China: their Descriptions and Implications of Audit Quality. Accounting Horizons, 35(2), 167-192.
Zhang, P. F. & Shailer, G. (2021). Changes in Audit Effort and Changes in Auditors’ Disclosures of Risks of Material Misstatement. The British Accounting Review, 53(3), 253-296.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร