ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชี จากการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ธัญญลักษณ์ แฝงตะคุ
  • วีระกิตติ์ เสาร่ม
  • กชนิภา วานิชกิตติกูล

คำสำคัญ:

ความสามารถของนักบัญชี, คุณภาพของสารสนเทศทางบัญชี, ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถของนักบัญชีในการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e - LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาคุณภาพของสารสนเทศทาง
การบัญชีจากการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม
3) ศึกษาความสามารถของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 287 ราย ใช้การเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)

            ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อความสามารถของนักบัญชีด้านจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด โดยจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส ยึดหลักความถูกต้อง มีคุณธรรมรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ในขณะเดียวกันควรมีความสามารถในการแก้ปัญหาจากการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ได้อย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า ความรู้ความสามารถของนักบัญชีนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องแม่นยำ แสดงข้อมูลครบถ้วน เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินงานได้

Author Biographies

ธัญญลักษณ์ แฝงตะคุ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

วีระกิตติ์ เสาร่ม

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

กชนิภา วานิชกิตติกูล

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

จิตติมา ขำดำ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความ

เข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของ สำนักงานอัยการสูงสุด.

วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-57.

ชลสิทธิ์ สีนารอด. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในเทศบาลตำบลจังหวัดอุบลราชธานี.

วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ฐิติรัตน์ มีมาก ธาริณี อังค์ยศ และทักษณา อังค์ยศ. (2559). ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

ของนักบัญชี ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานงบการเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา.

วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 22(1), 119-123.

ดารุณี กองทอง และพรพิพัฒน์ แก้วกล้า. (2560). ความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในสำนักงาน

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.).

วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 3(1-2), 112-125.

ทองสุข บุญศรี (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ของบุคลากรองค์การ

บริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

ทวิชชัย อุรัจฉัท และชุมพล รอดแจ่ม. (2560). ความรู้และความสามารถทางวิชาชีพของนักบัญชีตามมาตรฐาน

ระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบการ เขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 165-177.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: เอสพริ้นติ้งเมสโปรดักส์.

ธิรา เชื้อกูลชาติ. (2556). ความพร้อมในการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์การบริหารส่วน

ตำบลสินเจริญ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรเดช วิริยะกุล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นิศาชล หวานเปราะ. (2557). หลักธรรมาภิบาลและความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์.

พลพธู ปิยวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. (2559). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์.

ไพลิน ตรงเมธีรัตน์. (2564). ระบบสารสนเทศทางการบัญชีหลักการเบื้องต้นและกระบวนการธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมทินี จันทร์กระแจะ. (2560). คุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณา เจริญนาน. (2556). ความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศศิทร ราชพิบูลย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจสารสนเทศคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชี และประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมระดับ 4-5 ดาวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อัจฉราพรรณ ภิรมย์กิจ และอุษณา แจ้งคล้อย. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำระบบบัญชี

คอมพิวเตอร์ e-LAAS มาใช้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)

สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 52-64.

อภิญญา ดวงภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากร กรณีศึกษาบริษัทผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อารญา พรหมมีชัย. (2561). ผลกระทบของการสนับสนุนองค์กรและความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

อำภาภัทร์ วสันต์สกุล. (2561). ผลกระทบของคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีและการเติบโตของเทคโนโลยีที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนกลาง ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31