ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ส่วนประสมการตลาด การสนับสนุนของภาครัฐ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และระดับของปัจจัยทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, ส่วนประสมการตลาด, การสนับสนุนของภาครัฐ, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, ทัศนคติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ปัจจัยการสนับสนุนของภาครัฐ
ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และปัจจัยทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค และ
3) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม 2) ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 6 ตัว ได้แก่ ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นด้านทัศนคติให้ความสำคัญความรู้สึกมากที่สุด รองลงมาคือพฤติกรรม อีกทั้งกลุ่มอ้างอิง และสถานที่จัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค และ 3) ปัจจัยทัศนคติด้านความรู้สึกมีค่า Beta ร้อยละ .40 ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีค่า Beta ร้อยละ .21 ปัจจัยทัศนคติด้านพฤติกรรมมีค่า Beta ร้อยละ .19 และปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านสถานที่จัดจำหน่าย มีค่า Beta ร้อยละ .10 โดยปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค
อีกทั้งปัจจัยด้านทัศนคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค การสร้างการรับรู้เชิงบวกเกี่ยวกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาสถานที่จัดจำหน่ายให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวยังสามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). ประกาศกรมการปกครองเรื่องแจ้งข้อมูลทางการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 จาก https://www.dopa.go.th/news/cate1/view6988.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์.
กานต์ ภักดีสุข. (2560). ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาด และการยอมรับเทคโนโลยี
ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฐานเศรษฐกิจ. (2567). ไทยเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า ยอดจำหน่ายทะยาน 700%. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/article/economy-21.
ฑิฆัมพร ทวีเดช. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้ที่อาศัยในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ประจักษ์ วงษ์ศักดา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พงศ์พุฒิ การะนัด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี.
ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น.
วิศรุต ทั่งเพชร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ ของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ๊กซ์และเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพฯและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภัช ทรงธนวงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพร ปานกล้า. (2563). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบรนด์จีน
ของลูกค้าในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Cochran, W. G. (1954). The Combination of Estimates from Different Experiments. Biometrics, 10(1), 101-129.
Davis, M. B. (1989). Lags in Vegetation Response to Greenhouse Warming. Climatic Change, 15(1), 75-82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร