ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการซื้อ, อุปกรณ์กีฬาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาและ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาของผู้บริโภคในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ความเชื่อที่ผู้บริโภคมีต่อตราสินค้า ความสัมพันธ์กับความต้องการในปัจจุบัน และการรับรู้เนื้อหาสินค้าผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปที่เล่นกีฬาในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และประชาชนทั่วไปที่กำลังซื้อสินค้าอุปกรณ์กีฬาจากจุดจำหน่ายในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 - 31 ปี สถานภาพโสด และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 10,001 - 20,000 บาท ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬา โดยเฉพาะปัจจัยด้านการรับรู้เนื้อหาสินค้าผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.27) รองลงมาคือความเชื่อที่ผู้บริโภคมีต่อตราสินค้า (ค่าเฉลี่ย = 4.12) และความสัมพันธ์กับความต้องการในปัจจุบัน (ค่าเฉลี่ย = 3.99) อีกทั้งการหาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจกับความต้องการในปัจจุบัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย เท่ากับ .56 แสดงว่าปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการซื้อได้ร้อยละ 56 จากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้เนื้อหาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาในอนาคต
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2566). รายงานสถิติและการพัฒนากีฬาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
ปรารถนา สิริวรกุล. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวรรณา วงศ์ทองสุข. (2564). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลในอุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทย.
วารสารการจัดการการตลาด, 10(2), 45 - 62.
อนุชิต มณีวงศ์. (2565). พฤติกรรมการเลือกซื้ออุปกรณ์กีฬาผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคไทย.
วารสารการตลาดและการจัดการ, 12(1), 77 - 90.
Berger, R., Evans, A. & Smith, D. (2023). Trends in Health and Fitness: A Global Perspective. Journal of Health and Fitness Marketing, 25(3), 215 - 230.
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice.
New York: Rinehart & Winston.
Chumpradit, K. & Yaothanee, W. (2023). Behavior of Uses and Gratification in the Social Media Using of Generation Z. CRRU Journal of Communication, 6(1), 1 - 28.
Jiao, S. et al. (2024). How Does Sports E-Commerce Influence Consumer Behavior Through Short Video Live Broadcast Platforms? Asia Pacific. Journal of Marketing and Logistics, 36(7), 1557 - 1575.
Johnson, M. & Li, T. (2024). User-Generated Reviews and Consumer Purchasing Decisions in Sports and Fitness Products. Consumer Insights Journal, 7(1), 33 - 47.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). Edinburgh: Pearson Education.
Lee, J. & Park, S. (2023). Emotional Engagement Through Live Video Streaming and Consumer Behavior. International Journal of Social Media Marketing, 9(4), 240 - 256.
Teixeira, E. A. (2024). Consumer Purchase Behavior: A Systematic Literature Review. British Journal of Multidisciplinary and Advanced Studies, 5(2), 121 - 131.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Zhang, X. & Kim, H. (2023). Influencer Marketing and Consumer Trust in Digital Media. Journal of Digital Marketing Research, 15(2), 89 - 103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร