ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท ไทยสวิชบอร์ด แอนด์ เมตัลเวอร์ค จำกัด

ผู้แต่ง

  • พุทธรักษา เม่นน้อย
  • สุมาลี รามนัฏ

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมในการทำงาน, แรงจูงใจในการทำงาน, ความสุขในการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความสุขในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงาน และ 2) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงานและแรงจูงใจในการทำงานสู่การมีประสิทธิภาพในการทำงาน ของพนักงานบริษัท ไทยสวิชบอร์ด แอนด์ เมตัลเวอร์ค จำกัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 ตัวอย่าง ตามสูตรของ Yamane ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง .67-1.00 ทุกรายข้อ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค
อยู่ระหว่าง .835 - .919 สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความสุขในการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04, 4.37, 3.95, และ 3.99 ตามลำดับ 2) ความสุขในการทำงานเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีค่าผลคูณของขอบเขตล่างเท่ากับ .435 และมีค่าผลคูณของขอบบนเท่ากับ .818 งานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงาน และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

Author Biographies

พุทธรักษา เม่นน้อย

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

สุมาลี รามนัฏ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

ขนิษฐา แพงพุก. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต

อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉัตรฑริกา สุดแดน. (2566). การปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการ

บ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม,

(3), 194-206.

ญาณิศา สมัครการ. (2564). ปัจจัยด้านแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ

การปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในมุมมองของผู้รับตรวจในกองทัพบก.

การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัชชา ใจตรง. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่มีอายุต่างกันกรณีศึกษาพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้). สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นวพล สมศรี. (2564). ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบความสุขในการทำงานกับความผูกพันของพนักงาน

ในกลุ่มบริษัท A. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัญมณี ศรีประหลาด. (2565). สภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณลักษณะของงานที่ส่งผลต่อความสุข

ในการทำงานของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Forehand, G. A., & Von Haller, G. (1964). Environmental Variation in Studies of Organizational Behavior. Psychological Bulletin, 62(6), 361 382.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Taro Yamane. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.

Vroom, V. H. (1970). Management and Motivation. England: Penguin Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31