ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในเครือ ของบริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) ภายใต้การดูแลของ Top Chef Thailand ผ่านร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่นของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ขนมหวานระดับพรีเมียม, ท็อปเชฟ ไทยแลนด์, อีซี่สวีท โกลด์, เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์บทคัดย่อ
ในปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค Generation Z เน้นความสะดวกรวดเร็วตอบโจทย์ความรีบเร่งกับชีวิตประจำวัน จึงเป็นเหตุให้อาหารพร้อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมเป็นที่น่าจับตามองเนื่องจากสามารถเรียกกระแสความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในเครือของบริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) ภายใต้การดูแลของ Top Chef Thailand ผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ผ่านแบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกเป็นผู้บริโภคอายุระหว่าง 20-26 ปี ที่มีความสนใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่
จัดจำหน่าย ปัจจัยการรับรู้คุณค่าด้านคุณภาพ ด้านราคา ด้านอารมณ์ และปัจจัยอิทธิพลของเชฟที่มีชื่อเสียงส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในเครือของบริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) ภายใต้
การดูแลของ Top Chef Thailand ผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 โดยมีค่าอิทธิพลพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 71.60 จึงสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจควรมีการพัฒนาและเสริมสร้างปัจจัยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นพื้นฐานการสร้างความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในภาวะที่ตลาดมีการแข่งขันสูง เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
References
กมลวรรณ โกมุทสกุณี. (2566). การศึกษาการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภคกับผลิตภัณฑ์ขนม Dear IRIN. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรุงศรีกูรู. (2564). 6 สิ่งต้องรู้เมื่อบุกตลาด Gen Z. krungsri. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566 จากhttps://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/6-techneques-to-approach-gen-z.
ฐานเศรษฐกิจ. (2566 ). ซีพี ออลล์ กำไร 13,272 ล้านบาท เล็งขยาย เซเว่นอีเลฟเว่น เพิ่ม 700 สาขา.
สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/557688.
ดุษยา สุขวราภิรมย์. (2565). อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ในสื่อโซเชียลมีเดีย Youtube Facebook และInstagramที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในปัจจุบันของกลุ่มคนที่อายุ
- 55 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
นฤมล ศรีหิรัญ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าในร้าน 7-Eleven ของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บรกรณ์ ทาสอน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเบเกอรีแบบ Take Away ของกลุ่มนักศึกษาในเขต จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(2), 136.
เบญจมาส ลักษณิยานนท์ และเขมณัฐ ภูกองไชย. (2559). ผลกระทบของความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจ และการจัดการความรู้ที่มีต่อผลประกอบการด้านการเงิน: กรณีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 19(2), 97-127.
พัชณี มาเสถียร. (2564). การรับรู้คุณค่าด้านผลิตภัณฑ์และทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมอาหารที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชร์ศศิ ศรีพิพัฒน์พรกุล และฉันทนา ปาปัดถา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร,
(1), 230-242.
พิชชาภรณ์ จำปีเพ็ชร์. (2564). การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดโดยอาศัยผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer Marketing) ในสื่อสังคม (Social Media) กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ตราสินค้าอีซี่สวีท
(Ezy Sweet). วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภวินวัชร์ โชคเศรษฐปวินท์. (2566). เชฟผู้เชี่ยวชาญขนมหวานระดับพรีเมียมจากรายการ Top Chef Thailand. สัมภาษณ์. 13 พฤศจิกายน 2566.
ภิญญดา รื่นสุข. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมซื้อเครื่องสําอางของประชาชนในร้านสะดวกซื้อเซเว่น
อีเลฟเว่น สาขาโคกมะลิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, 16(3),
-268.
สโรชา นนท์รักษานุกุล. (2560). การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
CP EASY SNACK ในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลเว่นในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุชาดา จิตรโรจนรักษ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าร้านศรีฟ้าเบเกอรี่จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Brand Buffet. (2017). ถอดรหัสพฤติกรรมและวิธีการเข้าถึงผู้บริโภค Gen Z ฉบับจัดเต็มอัดแน่น !.
สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2566 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/01/gen-z/.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Hart, S., Hogg, G., & Banerjee, M. (2004). Does the Level of Experience Have an Effect on CRM Programs? Exploratory Research Findings. Industrial Marketing Management, 33(6),
-560.
Hill, R. (1998). What Sample Size is Enough in Internet Survey Research. Interpersonal Computing and Technology: An Electronic Journal for the 21st Century, 6(1), 3-4.
However, B. & Strauss, C. (1991). Generation: The History of America’s Future, 1584 to 2069. New York: William Morrow & Company.
Kim, S. & Pysarchik, D. T. (2000). Predicting Purchase Intentions for Uni-National and Bi-National Products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6),
–291.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New York: Prentice Hall.
NSL Foods. (2021). 56-1 One Report 2021. Retrieved December 21, 2023, from 20220331-nsl-or2021-th.pdf (listedcompany.com).
Schiffman, L.G. & Kanuk, L.L. (2000). Consumer Behavior. (7th ed.). New York: Prentice-Hall.
Shimp, T. A. (2003). Advertising, Promotion and Supplemental Aspects of Integrated Marketing Communications. (6th ed.). Ohio: Thomson South Western.
Stanley, J. C. & Hopkins, K. D. (1972). Educational and Psychological Measurement and Evaluation. New Jersey: Prentice-Hall.
Sweeney, J. C., & Soutar, G. N. (2001). Consumer Perceived Value: The Development of
a Multiple item Scale. Journal of Retailing, 77(2), 203-220
Zeithaml, V. A. (1988). Consumer Perceptions of Price, Quality and Value: A Means-end Model and Synthesis of Evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2 - 22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร