ผลกระทบของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษี ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้แต่ง

  • ขนิฐา นิลรัตนานนท์

คำสำคัญ:

สิทธิประโยชน์ทางภาษี, ประสิทธิภาพการวางแผนภาษี, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ผลกระทบของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือนกับประสิทธิภาพของ
การวางแผนภาษีเงินได้ 2) ทดสอบผลกระทบของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีเงินได้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 จำนวน 306 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่าย การหักค่าลดหย่อน และการชำระภาษีและการ
ยื่นแบบ มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีโดยรวม 2) ความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีมีผลต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีเงินได้ ดังนี้ 2.1) ความรู้เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน การหักค่าใช้จ่าย และการหักค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในการหลีกเลี่ยงโทษปรับ 2.2) การหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อน มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในการลดการตรวจสอบจากภาครัฐ
2.3) การหักค่าลดหย่อนและการชำระภาษีและการยื่นแบบ มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในความถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายภาษี และ 2.4) การหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปสู่ความสมัครใจในการเสียภาษีอากร

Author Biography

ขนิฐา นิลรัตนานนท์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

กรมสรรพากร. (2566). ช้อปดีมีคืน 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://flowaccount.com/

blog/e-tax-invoice-e-receipt-shopdee-2566.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2566). สรรพากรเผยยอดยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 65. สืบค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1065885.

กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. (2566). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2566. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ดวงเนตร วงศ์วิวัฒน์. (2562). ความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและกำไรทางบัญชีที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET100. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). การวางแผนภาษี: เรื่องต้องรู้เพื่อให้การวางแผนภาษีเกิดประโยชน์สูงสุด. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.set.or.th/ financialplaning/wealth/img-popup/321.jpg.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2567). วางแผนภาษี. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จากhttps://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/tax.

ทัศนีย์ เหลืองเรืองรอง. (2565). คู่มือศึกษาภาษีอากร. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิซซิ่ง จำกัด.

ธนิษฐ์ฌา พูนทอง และสุมาลี รามนัฏ. (2564). ความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ

ผู้มีเงินได้ กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 45-59.

วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล. (2561). ผลกระทบของความรอบรู้ในการวางแผนภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพ

การวางแผนภาษีของผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 106-122.

สมคิด บางโม. (2563). การภาษีอากรธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมเดช โรจน์คุรีเสถียร. (2563). สุดยอดกลยุทธ์: การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ เพรส.

สำนักพัฒนาการบริหารธรรมนิติ. (2564). ประมวลรัษฎากร ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ เพรส.

สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2560). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 4 หลักและทฤษฎีภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.facebook.com/Suthep Pongpitak/posts/1568251896559114/?locale=th_TH.

อรทัย ประโลมจิตร์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับการวางแผนภาษีของผู้ประกอบการร้านธงฟ้าประชารัฐในอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อังคณา อินทนิล และณหทัย รัตนชัยพิสิฐ. (2565). การศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางภาษี. วารสารการบริหารและการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏจันทรเกษม, 8(1), 49-63.

Aker, D., Kumar, V. & Day, G. (2001). Marketing Research. (7thed). New York: John Wiley

and Sons.

Bloom, B. (1975). Taxonomy of Education Objective Handbook. New York: David McKay.

Cronbach, L. (1984). Essentials of Psychological Testing. (4thed.). New York: Harper & Row.

Rovinelli, R. & Hambleton, R. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31