ผลกระทบของห่วงโซ่คุณค่าที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่คุณค่า, ความได้เปรียบในการแข่งขัน, กลุ่มเจียระไนพลอยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับห่วงโซ่คุณค่าของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเจียระไนพลอย 2) ระดับความได้เปรียบในการแข่งขัน และ 3) ผลกระทบของห่วงโซ่คุณค่าที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ประชากร ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับห่วงโซ่คุณค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ห่วงโซ่คุณค่าด้านโลจิสติกส์
ขาเข้า ด้านโลจิสติกส์ขาออก ด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร และด้านการจัดการทรัพยากร มีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันในทิศทางบวก และพบว่าห่วงโซ่คุณค่าด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอยในทิศทางลบ ส่วนตัวแปรอิสระ 2 ตัว คือ ด้านการผลิตและดำเนินงาน และด้านการตลาดและการขาย ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .792 และตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 62.70
References
กลุ่มวิสาหกิจเจียระไนพลอยอำเภอยางสีสุราช. (2566). ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจเจียรไนพลอยอำเภอยางสีสุราช. มหาสารคาม: กลุ่มวิสาหกิจเจียระไนพลอยอำเภอยางสีสุราช.
จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2563). การเพิ่มการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในโซ่ คุณค่า
อัญมณีและเครื่องประดับของโลก. วารสารวิทยาการจัดการ, 37(1), 78-106.
จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2555). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและ
เครื่องประดับไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จากhttps://www.bu.ac.th/knowledgecenter/
executive journal/oct. dec 12/pdf/aw03.pdf.
ธีรวุฒิ สุทธิประภา. (2553). คลัสเตอร์ (Cluster) กับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: คลัสเตอร์อัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประชาชาติธุรกิจ. (2566). จีไอที มองส่งออกเครื่องประดับปี’66 จับตาเงินเฟ้อ-มาตรการ CBAMกระทบ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566 จาก https://www.prachachat.net/economy/news-1170600.
พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี. (2553). ทิศทางการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยไปตลาดสหรัฐอเมริกา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 25(74), 61-77.
ภาณุพงศ์ กุดสุดา และกฤษฎา เรืองพุธ. (2562). การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ดำเนินธุรกิจ กรณีศึกษา: หมี่โบราณพัทลุง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มาริษ หัสชู. (2563). การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า สำหรับแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการสินค้าโอทอป. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยรรยง ศรีสม. (2553). ห่วงโซ่คุณค่า (ตอนจบ) Value Chainในงานโลจิสติกส์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.tpa.or.th/publisher/pdf File DownloadS/TN2 11A p039- 44.pdf.
รสดา เวษฎาพันธุ์. (2558). การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันและแนวทางการพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 58(1), 183-193.
รุจิพัชร์ เอกอัครธนาศักดิ์. (2559). ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดบริการที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ.
สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565 จาก https: //www.sme.go.th/upload/mod_download/.
อาทิตยา พันธุ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพการเจียระไนพลอย สำหรับกลุ่มเกษตรบ้าน
หนองเหล็ก ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
AEG Anglo East Group. (2566). อัปเดตมูลค่าตลาดส่งออกอัญมณีไทย พร้อมโอกาสทางธุรกิจมูลค่าสูง. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566 จาก https://www.aeginc.co/jewelry-export-thailand/.
Lawson, L. (2019). Women Working in the Thai Coloured Gemstone Industry: Insights. Retrieved May 7, 2022 From https://www.sciencedirect.com/ science//article/
abs/pii/s2214790X19300371.
Henn, S. (2012). Teaching Innovative Conceptual Design of Systems in the Service Sector. Retrieved May 7, 2022 From https://www.sciencedirect.com/science//article/abs
/pii/s0016718511002004.
Porter, M. E. (2004). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Simon & Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร