เส้นทางความสัมพันธ์ของการออกแบบผ้าทอของกลุ่มสตรีผ้าทอที่มีอิทธิพลต่อ ความพึงพอใจและการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภค ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • โสพิศ คำนวนชัย
  • นุชจรา บุญถนอม

คำสำคัญ:

การออกแบบ, การออกแบบกราฟฟิก, ความพึงพอใจ, การตัดสินใจ, กลุ่มสตรีทอผ้า, เส้นทางความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการออกแบบและการออกแบบกราฟฟิก

ความพึงพอใจ และการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภคผ้าทอ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างโครงสร้างการออกแบบ ความพึงพอใจ และการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภคผ้าทอ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการออกแบบและการออกแบบกราฟฟิก ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภคผ้าทอของกลุ่มสตรีผ้าทอ ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 260 คน โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมติฐานจากเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการออกแบบผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อวัสดุที่ใช้มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ สำหรับปัจจัยด้านการออกแบบกราฟิกผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อขนาด น้ำหนัก หรือปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือความเป็นเอกลักษณ์ และ เครื่องหมายการค้า และปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคพึงพอใจกับคุณภาพของเนื้อผ้าทอมากที่สุด รองลงมาเป็นความหลากหลายของผ้าทอ และความสวยงามของผ้าทอ สำหรับความสัมพันธ์เชิงเหตุผลพบว่า การออกแบบมีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจผู้บริโภคเชิงลบ การออกแบบกราฟฟิกมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการตัดสินใจใช้ผ้าทอผ่านความพึงพอใจเชิงบวก และปัจจัยการออกแบบมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค (b=-.091*) ในทิศทางตรงกันข้าม และการออกแบบกราฟฟิก
มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค (b=.936*) ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ดังนั้นผู้ดำเนินการผลิตผ้าทอจะต้องให้ความสำคัญต่อการออกแบบ และการออกแบบกราฟฟิกเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค

Author Biographies

โสพิศ คำนวนชัย

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

นุชจรา บุญถนอม

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

References

กีรติ แย้มโอษฐ และสุมามาลย์ ปานคํา. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจในการซื้อซ้ำเสื้อผ้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 81-92.

ณัชชาภัทร เวียงแสง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 16(3), 134-142.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมี่ยม กรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนิดา แหลมฉลาด และโฆสิต แพงสร้อย. (2563). การสังเคราะห์องค์ความรู้ลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 763-775.

ปัณติฌา ธรรมกุลธารี และสมชาย เล็กเจริญ. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันโพเมโลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(2), 110-126.

วีณา พงศ์พัฒนานนท์. (2557). กรมหม่อนไหมอนุรักษ์ผ้าไทยเชิญชวนซื้อผ้าไหมให้แม่. ค้นหาเมื่อ 4 ธันวาคม 2566, จาก http:// www.tnews.co.th/html/content/155728.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2554). การบริหารการตลาดแนวใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซแท๊กซ์.

ศิริกุล มูลโรจน์. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าฝ้ายของ นักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภฤกษ์ ทองประยูร. (2552). บาติกเพนท์. สงขลา: โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2565). ของดีท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี: ผ้าทอ ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้า. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

โสภณ ศุภวิริยากร. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบลวดลายผ้าบาติกในกลุ่มอันดามัน. ภูเก็ต: คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.

สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). Packaging Design. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

อรทัย สายสะอาด อรสา อินทร์น้อย และสุดาพร ตังควนิช. (2557). ค่านิยมและพฤติกรรมการซื้อผ้าไหมของผู้บริโภคชาวไทยในจังหวัดอุบลราชธานี ชาวกัมพูชาในจังหวัดเสียมเรียบ และชาวลาวในเมืองชนะสมบูรณ์. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 4(7), 58-63.

Belch, G. E. & Belch, M. A. (2002). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Chen, C. F. & Chen, F. S. (2010). Experience Quality, Perceived Value, Satisfaction and

Behavioral Intentions for Heritage Tourists. Tourism management, 31(1), 29-35.

Griffin, R. C., Sacharow, S. & Brody, A. L. (1985). Principles of Package Development. (2nd ed.). New York: Van Nostrand Reinhold.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Hair, J. F. et al. (2018). Advanced Issues in Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). Thousand Oaks: Sage.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2002). Principles of marketing. New Jersey: Prentice.

Oliver, R. L. (1999). Whence Consumer Loyalty. Journal of Marketing, 63, 33-34.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (3rd ed.). London: Routledge Taylor.

Underwood, R. L., Klein, N. M. & Burke, R. R. (2001). Packaging Communication: Attentional Effects of Product Imagery. Journal of Product and Brand Management, 10(7), 403-422.

Underwood, R. L. (2003). The Communicative Power of Product Packaging: Creating Brand Identity Via Lived and Mediated Experience. Journal of Marketing Theory and Practice, 11(1), 62-76.

Zhang, Q., Gangwar, M. & Seetharaman, P. B. (2008). Store Loyalty as a Category Specific Trait – What Drives It?. Lowa: University of Lowa.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31