อิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูป ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • กิติศักดิ์ พาหุรักษ์
  • พีรภาว์ ทวีสุข

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์ตราสินค้า, การตัดสินใจซื้อ, ผักผลไม้แปรรูป, ร้านค้าปลีกสมัยใหม่

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปในร้านค้าปลีกสมัยใหม่กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บตัวอย่างผู้ซื้อผักผลไม้แปรรูปในร้านค้าปลีกสมัยใหม่จำนวน 400 คน
กำหนดตัวอย่างตามสัดส่วน และทำการเก็บตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

         ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านชื่อตราสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูปที่ต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทย รองลงมาคือชื่อตราสินค้าต้องเป็นที่รู้จักซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ต่อมาพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับผลที่ได้จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปในร้านค้าปลีกสมัยใหม่
โดย พบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านเครื่องหมายการค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปมากที่สุด รองลงมาคือด้านการออกแบบหรือหีบห่อบรรจุภัณฑ์และด้านที่มีอิทธิพลต่ำที่สุดคือด้านชื่อตราสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อีกทั้งชื่อตราสินค้า เครื่องหมายการค้า และการออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์สามารถอธิบายการให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปได้ร้อยละ 56.3

Author Biographies

กิติศักดิ์ พาหุรักษ์

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

พีรภาว์ ทวีสุข

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). การแปรรูปผัก ผลไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่า.

กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แนวทางการพัฒนาผลไม้ไทย. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2567 จาก http://www.agriman.doae.go.th/home/agriman62/Strategic/

Fruit65.pdf.

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). พาณิชย์จัด 4 กิจกรรมขายผลไม้ปีนี้ล่วงหน้าก่อนฤดู. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2567. จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1056750.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กานต์ เชาวน์นิรัติศัย. (2562). การสร้างคุณค่าตราสินค้าและกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของผู้บริโภค ที่ซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 2696-2710.

จักริน เวียนบุญนาค และสายพิณ ปั้นทอง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 36(3), 133-151.

เจณิภา คงอิ่ม. (2564). รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 15(1), 342-358.

ณัฐฌา เสรีวัฒนา. (2563). ภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณภาพการบริการและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านไทย-เดนมาร์คมิลค์แลนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2566-2568: ธุรกิจร้านค้าปลีก

สมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.krungsri.com/th/research/

industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/modern-trade-2022.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2567-2569: ธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.krungsri.com/th /research/

industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-bmr/io/housing-in-bmr-2024-2026.

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). (2567). ธุรกิจผักผลไม้แปรรูป. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2567 จากhttps://www.lhbank.co.th/getattachment/a4103ad6-8ec8-402f-a720-870982b29b90/

economic-analysis-Industry-Outlook-2024-Processed-vegetables-and-fruits.

นนทนา เวชฤทธิกุล ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล และพงษ์สันติ์ ตันหยง. (2564). ปัจจัยการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคภาพลักษณ์ตราสินค้าและความไว้วางใจในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อนมเวย์ไฮโปรตีนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. ใน พัชรศักดิ์ อาลัย (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 การวิจัย สร้างดุลยภาพชีวิตเพื่อรองรับ New Normal (1395-1403). นครปฐม: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครปฐม.

ปรัศนีย์ ไชยชนะ. (2565). ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าและอิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์ แบรนด์ยูเซอรินของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนันยา นันทสาร เกศจิตต์ ขามคุลา และธนิษนันท์ บุญศรีชนะ. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์มะม่วงมหาชนกแปรรูปเชิงพาณิชย์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2565). ส่วนแบ่งตลาดขนมขบเคี้ยวประเภทผลไม้แห้งปี 2564.

สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-market-share-detail.php?smid=383.

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ. (2563). ข่าวสารด้านการเกษตรสหภาพยุโรป. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567 จากhttps://www.doa.go.th/psco/wp-content/uploads/2020/06.pdf.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ. (2566). จับตามองผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปในตลาดแดนมังกร. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.ditp.go.th/post/124894.

สุรชัย ศรีนรจันทร์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562.) กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์. Thai Agricultural Research Journal, 37(2), 177-185.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2016). Principles of marketing. (16th ed.). England: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31