อิทธิพลของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ชุมชนภูไทบ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ ชัยศิริรัตน์

คำสำคัญ:

อิทธิพล, รูปแบบการจัดการท่องเที่ยว, ภาพลักษณ์, ชุมชนภูไท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ชุมชนภูไทบ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนภูไทบ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ดมีความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการจัดการเกี่ยวกับบุคคลากรในองค์กร ด้านการอำนวยการ ด้านการประสานงานตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการรายงานการปฏิบัติงาน และด้านการบริหารงบประมาณ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ชุมชนโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเอกลักษณ์ขององค์กร ด้านชื่อเสียง ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการให้บริการ และด้านการติดต่อระหว่างบุคคล จากการวิเคราะห์อิทธิพล พบว่า 1) รูปแบบการท่องเที่ยว ด้านการประสานงานตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์และอิทธิพลเชิงบวกกับภาพลักษณ์ชุมชนภูไทโดยรวม 2) รูปแบบการท่องเที่ยว ด้านการรายงาน การปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับอิทธิพล เชิงบวกกับภาพลักษณ์ชุมชนภูไทโดยรวม 3) รูปแบบการท่องเที่ยว ด้านการบริหารงบประมาณ มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลเชิงบวกกับภาพลักษณ์ชุมชนภูไทโดยรวม โดยตัวแปรทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ ร้อยละ 47.20

Author Biography

รุ่งอรุณ ชัยศิริรัตน์

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติสําหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กชนิภา อินทสุวรรณ. (2564). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จันทร์แรม เรือนแป้น. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

จิรกฤต เสมอเพื่อน. (2557). การบริหารจัดการของงองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาต่อธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(16), 55 - 66.

ฐิติวราภรณ์ พูลทรัพย์. (2564). การศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวของชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ. (2565). จำนวนประชากรเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565 จาก https://www.bunglerd.go.th/pagelist-28.html.

ปภาวี บุญกลาง. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษา สาขาในเขตอําเภอด่านขุนทด

จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ปุริมปรัชญ์ ส่งศร. (2565). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

บ้านน้ำราบ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3th ed.). New York: Harper

and Row.

Hassan, S. B., & Soliman, M. (2020). COVID-19 and Repeat Visitation: Assessing the Role of Destination Social Responsibility, Destination Reputation, Holidaymakers’ Trust and Fear Arousal. Journal of Destination Marketing & Management, 19(2021), 1-11.

Hongguo, W. (2013). The Constituent Elements of Tourist Destination Image and Its Role in Tourists' Decision-making. Journal Contemporary Economy, 13(10), 1-4.

Lyndall, U. & Luther, G. (2021). Organizational Theory and Management Processes. Retrieved April 20, 2021 from https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/.

Min, X. (2020). Research on the Influence of Putuo Mountain Tourist Destination Image on Tourists' Willingness to Revisit. Zhejiang: Zhejiang Technology and Business University.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). McGraw-Hill, New York.

Raunio, J. M. (2014). Understanding the Travel Behavior of Generation Y [Master’s thesis]. Mid Sweden University. Retrieved June 18, 2022, from https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:729149/FULLTEXT01.pdf.

Widjaja, Y. I., Khalifa, G. S. A., & Abuelhassan, A. E. (2019). The Effect of Destination Reputation on the Revisit Intention to Halal Tourism Destination of Jakarta. International Journal of Business, Economics and Law, 20(5), 104-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31