อิทธิพลแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา อุ้มบุญ
  • อนันต์ สุนทราเมธากุล
  • ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, สมรรถนะในงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 การวิจัยครั้งนี้เป็น
การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 327 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 มีตัวแปรต้น 5 ตัว ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านจริยธรรม และด้านการทำงานเป็นทีม แสดงว่าตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 86.00

Author Biographies

เพ็ญนภา อุ้มบุญ

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อนันต์ สุนทราเมธากุล

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กฤติกา ระย้าแก้ว. (2566). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2567 จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/726.

จิราพร พิมสาร. (2561). สมรรถนะหลักในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จีนขพัษฐ์ บุดดา. (2563). อิทธิพลของสมรรถนะในงานและแรงจูงใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานศาลยุติธรรมประจำภาค 4. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลดา ตั้งโซ๊ะ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรม ในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ

แสตมฟอร์ด.

ไชยดี ยะยือริ. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดาริกา พิมกำเนิด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทัตเทพ ไตยราช. (2563). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักบริหารกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

ศรีปทุม.

ธวัชชัย แสนดวง. (2565). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระพงษ์ศักดิ์ สนตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม. (2553). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ความสามารถทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2565). แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568. กรุงเทพฯ: สำนักงาน

ศาลยุติธรรม.

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2566). E-Phonebook ระบบค้นหาหมายเลขโทศัพท์ศาลยุติธรรม. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566 จาก https://phonebook.coj.go.th/home.php?page=dashboard.

สุภารัตน์ กุลโชติ. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Herzberg, F., Musner, B. & Synderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John & Wiley & Sons.

Peterson, E. & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management.

Illinois: Homewood.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31