นักบัญชีนิติวิทยาเข้าใจกลโกงด้วยทฤษฎี 5 เหลี่ยมการทุจริต

ผู้แต่ง

  • ชุติมา อวยผล
  • กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

คำสำคัญ:

การทุจริต, ทฤษฎีห้าเหลี่ยมการทุจริต, นักบัญชีนิติวิทยา

บทคัดย่อ

การเข้าใจสาเหตุกลโกงของการทุจริตเป็นทักษะสำคัญของนักบัญชีนิติวิทยา เพื่อประเมินความเสี่ยง
และประเมินความเหมาะสมของแนวทางป้องกันทุจริตขององค์กร รวมถึงการวางแผนการตรวจสอบ การสอบสวนเพื่อให้ตรวจพบที่เร็วขึ้นได้ ทฤษฎีห้าเหลี่ยมการทุจริตเป็นการอธิบายแนวคิดสาเหตุของการทุจริต ประกอบด้วยสาเหตุหลัก 5 ประการ คือ 1) โอกาสของการทุจริต 2) แรงจูงใจหรือแรงกดดัน 3) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
4) การมีศักยภาพความสามารถในการกระทำผิด และ 5) ความหยิ่งยโสทะนงตน ทั้งนี้ตามทฤษฎีการทุจริตในประเภทต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมทุจริต กล่าวคือ ผู้ที่จะทำการทุจริตส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์ แรงปรารถนาเชิงลบ ภาระหนี้สิน ฯลฯ เมื่อเห็นโอกาสหรือช่องทางที่ตอบสนองกับอารมณ์และแรงปรารถนาได้ อีกทั้งขาดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะเพื่อยับยั้งการกระทำ และสุดท้ายก็จะตัดสินใจลงมือทำผิดแล้วมักจะหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าสิ่งที่ทำนั้นเหมาะสมแล้ว ดีแล้ว ในขณะเดียวกันพฤติกรรมเสริมด้านอื่นก็เป็นแรงขับเพิ่มเติมให้มีการกระทำทุจริต ตามทฤษฎีสี่เหลี่ยมและห้าเหลี่ยมการทุจริต คือ การที่มีศักยภาพสามารถควบคุมหรือกำหนด กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เอื้อประโยชน์หรือการใช้อำนาจในการจัดการคนที่ขวางทางของตนเอง การยึดมั่นถือมั่น ตำแหน่งหน้าตาทางสังคมไว้ กลัวการสูญเสียความสำคัญ ดังนั้นแล้วเมื่อการทุจริตเกิดจากพฤติกรรมแรงปรารถนาเชิงลบของบุคคล ระบบการคัดเลือกบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรที่มุ่งเน้นด้าน คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนจึงสำคัญมาก

Author Biographies

ชุติมา อวยผล

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

ดิลก ถือกล้า. (2564). ป้องกันการทุจริตด้วย “สี่เหลี่ยมทุจริต”. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2566 จาก

https://www.posttoday.com/economy/columnist/664636.

สมชาย ศุภธาดา. (2564). การบัญชีนิติวิทยา Forensic Accounting. (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2564). พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499.

สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566 จาก https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid =

& ext=htm.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). โครงการวุฒิบัตรวิชาชีพด้านการบัญชีนิติวิทยา

วุฒิบัตรวิชาชีพ (ผู้เชี่ยวชาญ) รุ่นแรก (พิเศษ) ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564

จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/131394.

Association of Certified Fraud Examiners. (2020). Report to the Nations 2020 Global

Study on Occupational Fraud and Abuse. Retrieved Nov 17, 2023 from https://www.acfe.com/report-to-the-nations/2020.

Cressey, D. (1953). Other People’s Money: A Study in the Social Psychology of Embezzlement. Sociology Mind Journal, 1(2), 158-171.

Horwath, C. (2011). Why the Fraud Triangle is No Longer Enough. Beijing Law Review. 14(1), 241-253.

Money Buffalo. (2563). 5 เรื่องอื้อฉาวการเงิน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www. moneybuffalo.in.th/business/5.

PwC Thailand. (2020). PwC’s Thailand Economic Crime and Fraud Survey 2020.

Retrieved Nov 17, 2023 from https://www.pwc.com/th/en/consulting /forensic/economic-crime-and-fraud-in-thailand.html.

Rabi, U. & Noorhayati, H. (2015). Concomitant Debacle of Fraud Incidences in the Nigeria Public Sector: Understanding the Power of Fraud Triangle Theory. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 5(9), 241-255.

Wolfe, D. T. & Hermanson, D. R. (2004). The Fraud Diamond: Considering the Four Elements of Fraud. CPA Journal, 72(12), 38-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31