แนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง

ผู้แต่ง

  • ทัศไนย์ ขอนสี
  • นพวรรณ วิเศษสินธุ์

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้า บริษัทต่าง ๆ และนักวิชาการที่มีความรู้ทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม CSR จำนวน 10 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัด เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน ผู้เข้าร่วมประชุมระดมสมอง ที่เป็นผู้บริหารบริษัท พระ มัคนายก ครู ผู้นำชุมชน ที่มีส่วนได้เสียกับการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 15 คน และผู้เข้าร่วมแบบการสนทนากลุ่ม คือ นักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 5 คน สำหรับ
การสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ดำเนินการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาหลัก มีดังนี้ การขาดการประสานงานระหว่างบริษัทและวัด ขาดความร่วมมือจากชุมชน การจัดกิจกรรมที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน การจัดกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเวลาทำงานของบริษัท  และ 2) แนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู พบว่า ควรกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานที่เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างชัดเจน โดยระบุพันธกิจ จุดมุ่งหมาย และแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของบริษัท และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน หรือสอดคล้องกับความสนใจของชุมชน โดยให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินกิจกรรม รวมถึงการประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ทราบอย่างทั่วถึง โดยการใช้ช่องทางต่าง ๆ ในการสื่อสารกับชุมชน เช่น การจัดประชุม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เพื่อเพิ่มความสนใจและสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ

Author Biographies

ทัศไนย์ ขอนสี

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

นพวรรณ วิเศษสินธุ์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2563). มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ:CSR-DIW. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: พญาพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เทศบาลตำบลบางปู. (2564). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565 จากhttp://www.bangpoocity.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=

&Itemid=107.

นิคมอุตสาหกรรมบางปู. (2564). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมบางปู. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://old.ieat.go.th/bangpoo/.

ภรรัมภา บัวทิพวรรณ. (2563). ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัทด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2561. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศราภรณ์ สุภัคกุล. (2563). สุดยอดนักสร้างอินโฟกราฟิก -โมชั่นกราฟิก. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565

จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/262304.

อนันตชัย ยูรประถม. (2563). CSR ไม่ได้แปลว่าบริจาค เข้าใจความยั่งยืนภาคธุรกิจแบบ “อนันตชัย

ยูรประถม” ผู้บริหาร SBDi. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567 จากhttps://ngthai.com/sustainability/47547/interviews_anantachai_sbdi/.

อรวีร์ ทองเกื้อ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม : กรณีศึกษา บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Denzin, N.K. (1970). The research act: A theoretical introduction to sociological methods. Chicago: Aldine.

Philip, K. & Nancy, L. (2005). Corporate Social Responsibility – Doing the Most Good for Your Company and Your Cause. New Jersey: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31