การจัดการองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้ 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน และ 3) การจัดการองค์ความรู้ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานระดับหัวหน้างาน ในธุรกิจเครื่องทำความเย็น (กลุ่ม Compressor) จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณ พบว่า การจัดการองค์ความรู้ด้านการรับรู้และการยอมรับ ด้านรูปแบบการสอนงาน และด้านวิธีการสื่อสารส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ นักศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาบริหารธุรกิจและภาษา ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจาก กองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณอาริสา จิระเวชถาวร (02) 763-2600 Ext. 2704 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JBAL@tni.ac.th
References
Alivand, F., Yazdanpanah, A., & Ghavam A. (2016). Factors affecting organizational commitment on Shahid Tabatabai Baghmalek Hospital in 2014 based on Allen and Meyer. European Academic Research, 3(10), 10590–10601.
Budsarakum Rackthuam. (2019). Motivation factors affecting organizational commitment of employees in Bangpakok 9 International Hospital (in Thai). (Master’s independent study). Retrieved from https://e-research.siam.edu/kb/motivation-factors-affecting-organizational-commitment/
Kanpitcha Kengkarnchang. (2008). Generation Y and a new challenge in a human resources administration (in Thai). Journal of Social Sciences and Liberal Arts, 2(1), 15–27.
Natcha Kongrerk, & Kaewta Poopatanapong (2019). Factors relating organizational commitment of generation y employee private companies in Bangkok (in Thai). (Master’s thesis). Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Nittaya Banko. (2015). Factors affecting the engagement of Government Personnel Merchant Marine Training Centre Marine Department, Ministry of Transport (in Thai). (Master’s independent study). Retrieved from https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5703010149_3756_2704.pdf
Office of the Public Sector Development Commission. (2015). Principles of Classification of Autonomous Government Agencies Management. (in Thai). Bangkok, Thailand: OPDC.
Parinya Srisukon, & Jidapa Thirasirikul. (2018). The relationship between working motivation and organizational commitment of parliamentary officials, secretariat of the house of representatives (in Thai). Suan Dusit Graduate School Academic Journal, 14(3), 43–62.
Pimkamol Jakranukul. (2016). The effects of organizational commitment and quality of work life on employee retention of five-star hotel staff in Bangkok metropolitan area (in Thai). (Master’s independent study). Retrieved from http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2618/3/pimkamol_jakr.pdf
Provincial Waterworks Authority. (2018). Employee Satisfaction and Engagement Survey Report to The Metropolitan Waterworks Authority (in Thai). Bangkok, Thailand: Provincial Waterworks Authority.
Theerawut Akakul. (1999). Research Methods in Behavioral and Social Sciences (in Thai). Ubon Ratchathani, Thailand: Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Wanna Arworn. (2014). Job Motivation and Organizational Commitment of Parliamentary Commissioner at An Operational Level, Secretariat of The House of Representatives (in Thai). (Master’s independent study). Bangkok, Thailand: Krirk University.
Warintorn Wattanaaree. (2019). Motivation factor in the work that affects the engagement of the administrative staff of the Office of the Attorney in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province (in Thai). (Master’s independent study). Retrieved from https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2019/TU_2019_6103011356_11383_11661.pdf