แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย

Main Article Content

ประจญ กิ่งมิ่งแฮ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อกำหนดแนวทางการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อประเมินแนวทางการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การวิจัยใช้แบบผสมผสาน ทั้งวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ดังนี้

ระยะที่1 ดำเนินการ2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1ใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง และในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของกลุ่มได้จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ของครอบครัว และการวิเคราะห์คุณลักษณะระดับปัจจัยของระดับปัญหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการแปรผลใช้ค่าพิสัยกลางของระดับช่วงชั้น แบบมาตราส่วนประมาณค่า พิจารณาจากระดับค่าคะแนน เฉลี่ยตามเกณฑ์ 5 ระดับ ขั้นตอนที่2 จัดเวทีใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสรุปปัญหาและจัดลำดับปัญหาที่สำคัญ ใช้กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง50 คนประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ


ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางได้ดำเนินการ2ขั้นตอนคือ ในขั้นตอนที่1 จัดทำร่างแนวทางที่จะใช้เป็นแนวทางพัฒนา ใช้กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง 50 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง โดยจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วม และใช้เทคนิคกระบวนการฉันทามติเพื่อหาความสอดคล้อง ในขั้นตอนที่ 2 กำหนดแนวทางใช้กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจำนวน 20 คน ร่วมเวทีแสดงความคิดเห็น โดยยึดทฤษฎีการมีส่วนร่วม เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ใช้เทคนิคกระบวนการฉันทามติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของตัวบ่งชี้เพื่อให้ได้ความสอดคล้อง ความเหมาะสม เป็นไปได้ ประโยชน์ และความคุ้มค่า


ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุดำเนินการ 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 การประเมินกิจกรรม เพื่อใช้เป็นกลไกในการดูแลผู้สูงอายุทั้งทางด้านกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ โดยใช้การจัดเสวนากลุ่มแนวทางพัฒนา ใช้กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในขั้นตอนที่ 2 การประเมินแนวทางพัฒนาการส่งเสริมการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุโดยจัดเสวนากลุ่ม ใช้กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 20 คน
เครื่องมือคือแบบข้อคำถามกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคกระบวนการฉันทามติ วิเคราะห์เชิงเนื้อหาของตัวบ่งชี้ เพื่อยืนยันกิจกรรมที่เหมาะสม ตรวจสอบความสอดคล้อง ใช้ค่าร้อยละ ของจำนวนผู้ร่วมเวที ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

การวิจัยระยะที่ 1 ผลการศึกษาปัญหาการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การยืนยันยอมรับสรุปได้ปัญหา คือ
1. ปัญหาด้านการสร้างกลไกและระบบในการดูแลผู้สูงอายุ ระดับการแปรผลภาพรวม พบว่า ด้านสุขภาวะทางจิตใจและอารมณ์มีปัญหาในระดับมากมีค่าเฉลี่ย3.80 รองลงไปคือทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมีปัญหาระดับค่อนข้างมากเฉลี่ย3.75 ทางปัญญา (จิตวิญญาณ) มีปัญหาระดับค่อนข้างมากเฉลี่ย3.58 และทางกายมีปัญหาระดับปานกลาง เฉลี่ย 3.41ตามลำดับ
2. ปัญหาด้านการบริการทางสุขภาพและการบริการทางสังคม คือ 1) พื้นที่สาธารณะในแต่ละชุมชนมีน้อยและจำกัด 2) การสนับสนุนอุปกรณ์ทางกีฬาในแต่ละชุมชนได้ไม่ทั่วถึง 3) ขาดการเชื่อมโยงระบบข้อมูลในระดับพื้นที่

การวิจัยระยะที่ 2 ผลการกำหนดแนวทางการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้รับการยืนยันรับรองได้ตัวแบบการทำงาน คือ 1) พันธสัญญาชุมชน(community & commitment)ระหว่างเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงพื้นที่ในข้อตกลงร่วมมือกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาบนฐานความรู้ของท้องถิ่น ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ, ครอบครัว, ญาติ,ผู้เกี่ยวข้อง 2) ได้ข้อตกลงในการวางระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงโดยผ่านช่องทาง เฟสบุคหรือไลน์ ง่ายต่อการติดต่อ ติดตาม ส่งข่าวสาร และประหยัด 3) การจัดการตนเองด้วยวินัยการดำรงชีวิต ด้วยกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ ที่เป็นกลไกในการดูแลผู้สูงอายุให้มีภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย, จิตใจ, อารมณ์, สังคม, และจิตวิญญาณ.

การวิจัยระยะที่ 3 ผลการประเมินแนวทางการจัดบริการสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้ข้อค้นพบว่า ได้รับการยืนยันรับรองกิจกรรมการออกกลังกายด้วยกีฬา ที่ใช้ทักษะการเล่นแบบไม่ปะทะ ใช้เวลาในการเล่นช่วงละ30 นาที ที่ผสมผสานด้วยการเดินและนันทนาการ เป็นแนวทางการให้บริการสุขภาวะผู้สูงอายุ ที่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ให้ผู้สูงอยุมีสุขภาพี่ดีต่อไปได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย