กระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์: ลายออนซอนอีสาน กระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์: ลายออนซอนอีสาน

Main Article Content

คมจรัส ทองจรัส
ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์: ลายออนซอนอีสาน” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้านดนตรีวิทยา เป็นการศึกษาข้อมูลจากงานภาคสนาม และศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาประวัติลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ลายออนซอนอีสาน 2) วิเคราะห์ลายดนตรีพื้นบ้านของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ลายออนซอนอีสาน


          ผลการวิจัยพบว่า ประวัติลายออนซอนอีสาน ประพันธ์โดยอาจารย์ทูลทองใจ ซึ่งรัมย์ จัดทำขึ้นเพื่อบรรเลง เพราะในยุคสมัยอดีตนั้น ลายที่ใช้บรรเลงมีไม่มากนัก จึงได้สร้างสรรค์ลายเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้บรรเลงในวงแคน วิธีการประพันธ์ โดยครูจะให้นักศึกษาเป็นคนบรรเลงทำนองขึ้นมา แล้วครูจะเป็นผู้จับประเด็นของทำนองเพลงว่าจะไปในทำนองไหน และคิดไปแนวทางแบบใด เพื่อให้เกิดอรรถรสของท่วงทำนอง เป็นลายที่เกิดจากจินตนาการ โดยการเรียบเรียงทำนองให้มีความสละสลวย มีความสวยงาม เพื่อต้องการให้เกิดเป็นลาย ถ้าใครจับประเด็นของลายออนซอนอีสานไม่ถูกนั้น ทำนองของลายจะมีลักษณะคล้ายกันกับลายนารีศรีอีสาน ลายนารีอีสาน และมีบทบาทในการนำไปเปิดหรือไปบรรเลงให้เข้ากับสถานการณ์ของงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นอีสาน นั้นคือเป้าหมายที่ครูพานักศึกษาสร้างสรรค์ขึ้น


          ผลการวิเคราะห์ลายออนซอนอีสานพบว่า มีโครงสร้างแบบอิสระประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ท่อน A, และท่อน B ใช้เทคนิคการประพันธ์ด้วยวิธีการพัฒนาทำนองแบบ ห่วงลำดับทำนอง (Sequence) ใช้การพัฒนาโมทีฟแบบการซ้ำทำนอง (Repetition) และใช้การพัฒนาทำนองแบบใช้สัดส่วนเหมือนกัน (Rhythmic Motif) มีลักษณะและรูปร่างทำนองแบบสลับฟันปลา แบบโค้งขึ้น แบบโค้งลง ใช้โครงสร้างคอร์ดมาจากบันไดเสียง C เมเจอร์ (C Major Scale) ชุดทางเดินคอร์ด (Chord progression) i - III - i จบด้วยเพอร์เฟคคาเดนซ์ (perfect cadence)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย