การศึกษาผลการเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยก้าวให้ไกล ไปให้ถึง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล

Main Article Content

วสุมดี บุปผาวัลย์
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้หน่วย ก้าวให้ไกล ไปให้ถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ทักษะทางภาษา  ทักษะกระบวนการกลุ่มและความมีวินัย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หน่วย ก้าวให้ไกล ไปให้ถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองสะโนโนนจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5  จำนวน 25 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะทางภาษา แบบประเมินทักษะทำงานกลุ่มและแบบประเมินความมีวินัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for Dependent  Samples


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับต่ำ และหลังเรียนอยู่ในระดับสูง

  2. ผลการเรียนรู้ทักษะทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล โดยภาพรวมและทุกรายทักษะอยู่ในระดับปานกลาง ลำดับแรก ทักษะการอ่าน รองลงมา ทักษะการฟัง ทักษะการเขียน และทักษะการพูดตามลำดับ

  3. ผลการเรียนรู้ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง

  4. ผลการเรียนรู้ความมีวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง

  5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย