กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของ อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

จารุณี ช้างรักษา

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม  จังหวัดอุดรธานี 2) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี  เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 122 คน สุ่มแบบบังเอิญ กลุ่มเป้าหมายในการกำหนดยุทธศาสศตร์ จำนวน  15  คน สุ่มแบบเจาะจง และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน  15  คนสุ่มแบบเจาะจง ทำการประเมินกลยุทธ์ ออกแบบการวิจัยเป็น 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจกแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาการพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ภาพรวมปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ลำดับที่ 1 การบริหารจัดการ ลำดับที่ 2 ด้านส่งเสริมช่องทางการการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ลำดับที่ 3 การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ลำดับที่ 4 ด้านบุคคล ลำดับที่ 5 การพัฒนาการผลิต ตามลำดับ

  2. กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงการ/กิจกรรม วิธีประเมินผล ซึ่งมี เรียงลำดับกลยุทธ์ 5 ด้าน จำนวน 12 กิจกรรม ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ จำนวน 2 กิจกรรม 2) ด้านส่งเสริมช่องทางการการตลาดและการประชาสัมพันธ์จำนวน 3 กิจกรรม 3) ด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จำนวน 2 กิจกรรม 4) ด้านบุคคล จำนวน 2 กิจกรรม และ 5) การพัฒนาการผลิต จำนวน 3 กิจกรรม

  3. การประเมินกลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก ทุกแนวทาง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 3.51 ทุกด้าน จึงถือว่า กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย