แนวทางการพัฒนาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ศิวาการ จันทะไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี 2) กำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการภายนอกและผู้รับบริการภายในเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี จำนวน 377 คน สุ่มโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 กำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาล และตัวแทนผู้รับบริการจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


                ผลการวิจัย


  1. ปัญหาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี พบว่า ภาพรวมปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านการเข้าถึงได้ ลำดับที่ 2 ด้านการตอบสนองความต้องการ ลำดับที่ 3 ด้านความปลอดภัย ลำดับที่ 4 ด้านความเชื่อถือได้ ลำดับที่ 5  ด้านสามารถจับต้องรู้สึกได้ ลำดับที่ 6 ด้านความสุภาพ ลำดับที่ 7 ด้านความเข้าใจผู้รับบริการ ลำดับที่ 8 ด้านความน่าไว้วางใจ ลำดับที่ 9 ด้านความสามารถ และลำดับที่ 10 ด้านการติดต่อสื่อสาร

  2. ผลกำหนดผลการกำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีพบว่า ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงการ/กิจกรรม  วิธีประเมินผล ซึ่งมีทั้งหมด 6 แนวทาง จำนวน 18 กิจกรรม ได้แก่ แนวทางที่ 1 ด้านการเข้าถึงได้ จำนวน 3 กิจกรรม แนวทางที่ 2 ด้านการตอบสนองความต้องการ จำนวน 3 กิจกรรม แนวทางที่ 3 ด้านความปลอดภัย จำนวน 3 กิจกรรม แนวทางที่ 4 ด้านความเชื่อถือได้ จำนวน 3 กิจกรรม แนวทางที่ 5  ด้านสามารถจับต้องรู้สึกได้ จำนวน 3 กิจกรรม และแนวทางที่ 6  ด้านความสุภาพ จำนวน 3 กิจกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย