แนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ตามโครงการโคก หนอง นา จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ตามโครงการโคก หนอง นา โมเดล จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อกำหนดแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ตามโครงการโคก หนอง นา โมเดล จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสม ดำเนินการ 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปภาพรวม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ตามโครงการโคก หนอง นาโมเดล จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากน้อยไปมาก ดังนี้ 1) ด้านความพอเพียง 2) ด้านการเข้าถึงอาหาร 3) ด้านการใช้ประโยชน์ และ 4) ด้านเสถียรภาพทางอาหาร ผลกำหนดแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ตามโครงการโคก หนอง นาโมเดล จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงการ/กิจกรรม วิธีประเมินผล ซึ่งมีทั้งหมด 4 แนวทางการพัฒนา จำนวน 12 กิจกรรม ได้แก่ 1) ด้านความพอเพียง จำนวน 3 กิจกรรม 2) ด้านการเข้าถึงอาหาร จำนวน 3 กิจกรรม 3) ด้านการใช้ประโยชน์ จำนวน 3 กิจกรรมและ 4) ด้านเสถียรภาพทางอาหาร จำนวน 3 กิจกรรม