1. บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน

1.1 ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่ได้ส่งตีพิมพ์ที่อื่นในเวลาเดียวกัน

1.2 ผู้เขียนต้องไม่แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อมูลให้ผิดจากความเป็นจริง

1.3 ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

1.4 ผู้เขียนต้องจัดทำบทความต้นฉบับให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้เขียน”

1.5 ผู้เขียนต้องให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน

 

2. บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร

2.1 บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความให้เผยแพร่ได้ตามมาตรฐานทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

2.2 บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความตลอดกระบวนการประเมินและเตรียมการเผยแพร่บทความให้แก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ

2.3 บรรณาธิการจะคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากลำดับการส่งบทความที่แก้ไขแล้วตามผู้ประเมินบทความ ความสำคัญ ความชัดเจน ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสาร

2.4 บรรณาธิการจะไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่วารสารฉบับอื่นมาแล้ว ส่งตีพิมพ์ที่อื่นในเวลาเดียวกัน

2.5 บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน

2.6 บรรณาธิการจะตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างจริงจัง ด้วยโปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น

2.7 ในกระบวนการประเมินบทความ หากตรวจพบการคัดลอกผลงานผู้อื่น บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ ตอบรับ หรือ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้น

 

3. บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

3.1 ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความทั้งเรื่องหรือข้อมูลบางส่วนแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

3.2 กรณีที่ผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้เขียน  ทำให้ไม่สามารถเสนอความคิดเห็นและประเมินอย่างเป็นอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น

3.3 ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาบทความ

3.4 ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินซึ่งผู้เขียนไม่อาจมิได้นำมาอ้างอิง โดยแนะนำให้ผู้เขียนศึกษาเพิ่มเติมและนำมาอ้างอิงในบทความนั้นด้วย 

3.5 ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาว่าบทความนั้นมีส่วนที่ซ้ำซ้อนกับผลงานวิชาการของผู้อื่นหรือไม่ ถ้ามีผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ