ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของ "ผู้ชายพ่ายรัก" จากเพลงคู่เลิศ-ศรีสุดา

Main Article Content

วันชนะ ทองคำเภา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้วิเคราะห์เนื้อเพลงที่ขับร้องโดยเลิศ ประสมทรัพย์ และศรีสุดา รัชตะวรรณ แห่งวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่เผยแพร่ในทศวรรษ ๒๕๑๐ ในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ชายหญิง โดยมีคำถามนำในการศึกษาว่าเหตุใดเนื้อเพลงเหล่านี้จึงมักนำเสนอความขบขันที่มาจากการผิดหวังในความรักของผู้ชาย วิธีการศึกษาใช้การอ่านเนื้อเพลงควบคู่กับข้อมูลประวัติศาสตร์วัฒนธรรมความสัมพันธ์ชายหญิง ทั้งข้อมูลชั้นต้นและการอ้างอิงงานศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์ ตามทฤษฎีประวัติศาสตร์นิยมใหม่ ผู้เขียนบทความเสนอว่า ความเป็นสมัยใหม่ในด้านความสัมพันธ์ชายหญิง ได้แก่ ความนิยมการสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียวและการมีบทบาทของผู้หญิงในการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งการเติบโตของทุนนิยมในสังคมเมืองที่เร่งเร้าการบริโภคสินค้าต่างๆ และความนิยมการท่องเที่ยวตากอากาศ เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมในสภาวะสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความแพร่หลายของจินตนาการเรื่องวิกฤตของความเป็นชาย และความคิดเรื่องวิกฤตความเป็นชายนี้เองที่เป็นวัตถุดิบให้ผู้แต่งเพลงของวงสุนทราภรณ์นำมาใช้แต่งเพลงล้อเลียนผู้ชายเพื่อสร้างความขบขัน       

Article Details

How to Cite
ทองคำเภา ว. (2018). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของ "ผู้ชายพ่ายรัก" จากเพลงคู่เลิศ-ศรีสุดา. วรรณวิทัศน์, 18, 57–84. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.3
บท
บทความประจำฉบับ

References

ใกล้รุ่ง อามระดิษ. (2533). ร้อยแก้วแนวขบขันของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2532). สุนทราภรณ์วิชาการ: บทความจากการสัมมนาสุนทราภรณ์วิชาการในวาระครบรอบ 50 ปี คณะดนตรีสุนทราภรณ์.กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2554). จากคลาสสิกสู่คลาสสิก: เส้นทางของสุนทราภรณ์: สุนทราภรณ์วิชาการครั้งที่ 2. บทความจากการสัมมนาสุนทราภรณ์วิชาการ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เด่นศิริ สินสืบผล. (1–4 กุมภาพันธ์ 2543). สุนทรียะทางภาษาไทยในวรรณกรรมเพลงสุนทราภรณ์. ในสาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสาขาคหกรรมศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจและสาขามนุษยศาสตร์, การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). ข้างขึ้นเดือนหงาย สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=361

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). จุดไต้ตําตอ. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=113

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). ชาวทุ่ง. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=601

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). นกเขาไพร. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=359

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). พักร้อน. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=279

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). ไพรพิสดารสืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=362

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). ไม่รักใครเลย. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=1029

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). สามนัด. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=808

บ้านคนรักสุนทราภรณ์. (7 ตุลาคม 2559). หนีไม่พ้น. สืบค้นจาก http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=572

ปิ่นเพชร จําปา. (2545). วัฒนธรรมการท่องเที่ยวของคนไทย พ.ศ. 2394–2544. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พงศ์ศักดิ์ สังขภิญโญ. (2543). ความเชื่อในบทเพลงสุนทราภรณ์ (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

พิชญ์สินี บํารุงนคร. (2543). ลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ไพบูลย์ สําราญภูติ. (2545). พระเจ้าทั้งห้า: ตํานานความเป็นมาของสุนทราภรณ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2547). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมความบันเทิงในสังคมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2491–2500. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วัชราภรณ์ อาจหาญ. (2535). การศึกษาวิเคราะห์บทเพลงไทยสากลของสุนทราภรณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วันชนะ ทองคําเภา. (2559). โอตาคุหญิงวิปริตและวิกฤตความเป็นชาย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 23, (2), 94–122.

วีระยุทธ ปีสาลี. (2557). กรุงเทพฯ ยามราตรี. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศรีอยุธยา. (2546). เอื้อสุนทรสนานดุริยกวีสี่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

ศิริพร กรอบทอง. (2541). วิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย พ.ศ. 2481–2535. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมาคมนักแต่งเพลงและวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยคุณอาภรณ์ สุนทรสนาน. (2529). วันสุนทราภรณ์และ 25 ผู้ร่วมผลงาน. ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2529.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2550). เรื่องสั้นไทยแนวคตินิยมสมัยใหม่ พ.ศ. 2507–2516. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

“สาว ‘เลือดไทย’ ขายจูบสู้คดีเขาพระวิหาร.” (28 ตุลาคม 2502). สารเสรี, น. 1, 19.

“หญิงไทย.” (2 กรกฎาคม 2505). ประชาธิปไตย, น. 2.

อดุลย์ จันทะวงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมเพลงสุนทราภรณ์. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

อุดมลักษณ์ ระพีแสง. (2550). ศึกษาเชิงวิเคราะห์การใช้ภาษาในบทเพลงสุนทราภรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2524. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอนกนัน นันต๊ะคุม. (2546). ความนิยมเพลงไทยสากลยุคสุนทราภรณ์ของคนกรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

Arcangeli, A. (2012). Cultural history: a concise introduction. Oxon: Routledge.

Barmé, Scot. (2002). Woman, man, Bangkok: love, sex & popular culture in Thailand. Maryland: Rowman and Littlefield Publishers. INC.

Barry, P. (1995). Beginning theory: an introduction to literary and cultural theory. Manchester and New York, NY: Manchester University Press.

MacInnes, J. (2001). The Crisis of Masculinity and the Politics of Identity.In Whitehead, S.M., & Barrett, F.J. (Eds.). The masculinities reader,(pp. 311–329). Malden, MA: Polity Press.

Phillips, M. (2016). Thailand in the Cold War. New York, NY: Routledge.