282 ปี หนังสือสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวง: เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย

Main Article Content

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ
ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและคุณค่าของหนังสือสมุดไทย เรื่องนันโทปนันทสูตรคําหลวง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาที่เป็นปัจจัยให้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจําแห่งโลกของประเทศไทยเมื่อพุทธศักราช 2558 ผลการศึกษาพบว่าแม้หนังสือสมุดไทยเล่มนี้ มีอายุได้ 282 ปี แต่ยังคงเป็นเอกสารโบราณที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งส่วนประกอบของต้นฉบับสมุดไทย อักษรที่ใช้บันทึกส่วนประกอบของเนื้อหาทั้งส่วนนําเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายเรื่อง นอกจากนี้หนังสือสมุดไทยเล่มนี้ ยังมีคุณค่าทางวิชาการที่สําคัญอีก 3 ประการ ได้ แก่ ด้านวรรณคดีด้านอักขรวิทยา และด้านการบันทึกข้อมูลประเภทหนังสือสมุดไทย

Article Details

How to Cite
ลักษณะศิริ จ., & สิกขะฤทธิ์ ย. (2018). 282 ปี หนังสือสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวง: เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย. วรรณวิทัศน์, 18, 1–31. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.1
บท
บทความประจำฉบับ

References

กรมศิลปากร. (2545). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2530). การทําสมุดไทยและการเตรียมใบลาน. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2551). จากลายสือไทยสู่อักษรไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2554). อักษรไทยย่อ: อักษรไทยที่ถูกลืม. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(1), 7–42.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (มิถุนายน–ตุลาคม 2555). อักษรไทยย่อในสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคําหลวงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 29–51.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2557). “พระบาฬีคําประดับ” สู่ “เนื้อความคําประดับ”: การศึกษากลวิธีการแปลคําศัพท์ในนันโทปนันทสูตรคําหลวง. รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์แห่งเอเชีย 2014, 53–69. นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์. (2556). อักษรขอมย่อในหนังสือสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคําหลวงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 9–53.

นลินี เหมนิธ. (2512). อักษรไทยในจารึกสมัยอยุธยาที่พบในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พรพิมล แสงทับ. (2548). การลงทะเบียนเอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยกระดาษเพลากระดาษฝรั่งสมุดฝรั่งและใบจุ้ม. ใน คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณ (น. 38–44). กรุงเทพฯ: สํานักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.

พระมหาสมคิดจินฺตามโย. (2538). คู่มือหลักเกณฑ์การแปลบาลีประโยค 1–2 และ ป.ธ. 3 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียง.

พิพัฒน์ คงประเสริฐ. (2553). ไวยากรณ์บาลีชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). มณีปิ่นนิพนธ์: รวมบทความด้านภาษาวรรณคดีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรี รมยะนันทน์. (2522). ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 15 ธรรมวัตร-นิลเอก. (2521–2522). กรุงเทพฯ: พระจันทร์.

วีรี เกวลกุล. (2546). การศึกษาศัพท์ภาษาสันสกฤตในนันโทปนันทสูตรคําหลวง. (รายงานการค้นคว้าเฉพาะบุคคลระดับปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2543). วรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (ม.ป.ป.) นันโทปนันทสูตรคําหลวง. [แบบกรอกข้อความเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจําแห่งโลกของประเทศไทย].

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2553). นันโทปนันทสูตรคําหลวง. ในนามานุกรมวรรณคดีไทยชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี (พิมพ์ครั้งที่ 4), (214–217). กรุงเทพฯ:มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.

อรอนงค์ พัดพาดี. (2521). พระนิพนธ์ประเภทคําหลวงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2527). วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันโทปนันทสูตรคําหลวง. (2275). [สมุดไทยขาวอักษรไทยและอักษรขอมภาษาไทยและภาษาบาลีเส้นรงค์]. หมวดตําราภาพ (เลขที่ 120). หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (10 พฤษภาคม 2556). ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณและการอ่านเอกสารโบราณ [บทสัมภาษณ์].

วรวินัยหิรัญมาศ. (18 มิถุนายน 2557). ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจิตรกรรมและประติมากรรมไทย [บทสัมภาษณ์].