ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ที่โคจรกันในกลบทสันสกฤต

Main Article Content

นาวิน โบษกรนัฏ

บทคัดย่อ

พระรามกับพระกฤษณะเป็นกษัตริย์ ผู้มีชื่อเสียงในสูรยวงศ์ และจันทรวงศ์  ที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตหลายเรื่อง รามกฤษณวิโลมกาวยะ เป็นวรรณคดีกลบท ที่เล่าเรื่องของวีรบุรุษทั้งสองไว้ด้วยกัน น่าสังเกตว่าวรรณคดีเรื่องนี้มิใช้กลบทที่แสดงความสามารถทางวรรณศิลป์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงภาพการโคจรของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ไว้ด้วย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาให้เข้าใจว่าวรรณคดี ดังกล่าวสะท้อนภาพการโคจรของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ไว้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่าคุณธรรมที่ปรากฏในเรื่องของวีรบุรุษทั้งสองสื่อถึงแสงอาทิตย์ และแสงจันทร์ ที่ปรากฏให้โลกเห็น การใช้วิโลมจิตระซึ่งเป็นกลบทที่กําหนดให้อ่านได้ ทั้งซ้ายไปขวา และขวาไปซ้ายทําให้แบ่งพื้นที่ในคําประพันธ์สมมาตรกัน เปรียบเสมือนพื้นที่ในการโคจรที่เท่ากัน แต่ละคําประพันธ์เริ่มด้วยพระรามและจบด้วยเรื่องพระกฤษณะ ก็สะท้อนถึงการนับวัน 1 วันที่เริ่มจากกลางวันไปสู่กลางคืน การโคจรของดวงอาทิตย์  และดวงจันทร์ ในทางเดียวกันจะเห็นได้จากการที่ภาษาสันสกฤตอ่านได้ทางเดียวเท่านั้น แม้จะมีวิภัตติปัจจัยกํากับทําให้สลับคําในประโยคได้ก็ตาม นอกจากนี้ ความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหาและการดําเนินเรื่องก็สื่อถึงความพร่ามัวของแสงอาทิตย์  และแสงจันทร์ ขณะโคจรอีกด้วย วรรณคดีกลบทเรื่องนี้จึงเป็นประจักษ์ พยานแห่งพลังของภาษาที่สื่อถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

How to Cite
โบษกรนัฏ น. (2018). ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ที่โคจรกันในกลบทสันสกฤต. วรรณวิทัศน์, 18, 32–56. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.2
บท
บทความประจำฉบับ

References

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2540). บทละครเรื่องเงาะป่า. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรและสถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2549). คําบรรยายวิชาสัมมนาภาษาและวรรณคดีปรากฤต. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2551). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระวี ภาวิไล. (2522). ดาราศาสตร์และอวกาศ. กรุงเทพฯ: บริษัทศึกษิตสยาม.

วิสุทธ์ บุษยกุล. (2542). เรื่องพระลักษมณีพระรามของอีสาน. ในอักษรวิสุทธ์ (น. 21–43). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

DaivajñaśrI-sūryakavi. (1988). Rāmakṛṣṇavilomakāvyam. Kāvyamālā (vol. 11). Varanasi: Chowkhamba Bharati Academy.

Knott, K. (1998). Hinduism: A Very Short Introduction. New York, NY: Oxford University Press.

M. , Sir. Monier-Williams. (1876). Sakuntala. Delhi: Motilal Banarsidass.

M. , Sir. Monier-Williams. (2005). A Sanskrit English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.

ŚrI-bhāravi. (1987). KirātārjunI-yam. Varanasi: Chaukhamba Surbharati Prakashan.

ŚrI-māgha. (1986). Śiśupālavadham. Varanasi: Krishnadas Academy.

Winternitz, M. (2008). History of Indian Literature (vol 3). Delhi: Motilal Banarsidass.