ความ “หัวโบราณ” ในนวนิยาย ห้วงรัก - เหวลึก ของหลวงวิจิตรวาทการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ “หัวโบราณ” ของตัวละครชายในนวนิยาย ห้วงรัก – เหวลึก ของหลวงวิจิตรวาทการว่าสร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อตัวละครหญิงภายในเรื่องอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่า ความหัวโบราณในนวนิยาย ห้วงรัก - เหวลึก ที่สร้างปัญหาให้แก่ตัวละครหญิงมี 3 ประการ คือ 1. ความหัวโบราณของบิดาที่มีต่อลูกสาว 2. ความหัวโบราณของสามีที่มีต่อภรรยา และ 3. ความหัวโบราณของผู้ชายที่มีต่อสตรี สาเหตุที่ความหัวโบราณของตัวละครชายสร้างปัญหาแก่ตัวละครหญิงเป็นเพราะ ตัวละครหญิงมีลักษณะความคิดเป็นผู้หญิงสมัยใหม่แต่ตัวละครชายยังยึดติดในค่านิยมสมัยเก่าจึงทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ซึ่งตัวละครหญิงได้ตอบสนองต่อค่านิยมเก่าของตัวละครชายอย่างหลากหลาย ทั้งยินยอม ขัดขืน ฝ่าฝืน ตอบโต้ด้วยความรุนแรง และลุกขึ้นสู้กับค่านิยมเก่า
Article Details
References
จิตติมา พรอรุณ. (2538). การเรียกร้องสิทธิสตรีในสังคมไทย พ.ศ. 2489–2519. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี: ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.).
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). อ่านจนแตก: วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: อ่าน.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2532). สถานภาพสตรีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปราณี วงศ์เทศ. (2534). เพศและวัฒนธรรม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2525). การมีส่วนร่วมในสังคม การเมือง การปกครองของสตรีไทย. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
ลำพรรณ น่วมบุญลือ. (2519). สิทธิและหน้าที่ของสตรีตามกฎหมายไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.
วาสนา บุญสม. (2535). บทบาทผู้หญิงในนวนิยายและเรื่องสั้นของหลวงวิจิตรวาทการ:การศึกษาเชิงวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วิจิตรา รังสิยานนท์. (2543). เรียงถ้อยร้อยชีวิต วิจิตรวาทการ. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค.
วิจิตรา รังสิยานนท์. (2544). ตามรอยความคิดจากนวนิยายของหลวงวิจิตรวาทการ.กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค.
วิจิตรวาทการ, หลวง. (2542). ห้วงรัก - เหวลึก(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค.
ยศ สันตสมบัติ. (2548). การทำความเข้าใจ ‘เพศสถานะ’ และ ‘เพศวิถี’ ในสังคมไทย.ใน เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย (น. 1–39). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์. (2518). สตรีไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สังข์ พัธโนทัย. (2513). ฐานะของสตรีไทยแต่โบราณถึงปัจจุบันกาล. พระนคร: ศูนย์การพิมพ์.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2545). การศึกษาบทบาทชายหญิง = Gender studies. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรีย์ สุวรรณภาค. (2529). บทบาทของสตรีในด้านสิทธิทางเพศ: ศึกษาจากนวนิยายไทยในช่วง พ.ศ. 2444 ถึง พ.ศ. 2501.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.