คำลักษณนามในภาษาลาว

Main Article Content

วิราพร หงษ์เวียงจันทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อรรถลักษณ์คำลักษณนามในภาษาลาว แล้วจำแนกประเภทคำนามที่ปรากฏร่วมกับคำลักษณนาม โดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวลาว แขวงนครหลวงเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 3 คน


ผลการศึกษาพบคำลักษณนามภาษาลาวจำนวน 82 คำ คำดังกล่าวปรากฏร่วมกับคำนามที่ผู้เขียนรวบรวมจำนวน 344 คำ จากการวิเคราะห์สามารถจัดประเภทคำนามที่ปรากฏร่วมกับคำลักษณนามได้ 8 หมวด ได้แก่ พืช ธรรมชาติ สัตว์ ที่อยู่อาศัยและสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ มนุษย์ และอมนุษย์ นอกจากนี้ยังพบว่าคำลักษณนามดังกล่าวสามารถทำให้เห็นมุมมองของคนลาวที่มีต่อการเลือกใช้คำลักษณนาม 3 ประการ คือ 1) คำลักษณนามในภาษาลาวบางคำสามารถปรากฏร่วมกับคำนามได้หลายหมวด 2) คำลักษณนามในภาษาลาวบางคำเป็นคำลักษณนามซ้ำคำนาม และ 3) คำลักษณนามในภาษาลาวแตกต่างจากคำลักษณนามในภาษาไทย

Article Details

How to Cite
หงษ์เวียงจันทร์ ว. (2019). คำลักษณนามในภาษาลาว. วรรณวิทัศน์, 19(1), 209–248. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.8
บท
บทความประจำฉบับ

References

นววรรณ พันธุเมธา. (2551). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.

นิรมล อวยพร. (2545). คำลักษณนามในภาษาไทยถิ่นโคราชที่พูดในตำบลโป่งแดง อำเภอทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บุญเหลือ ใจมโน. (2551). การเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาไทย 4 ถิ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2525). เอกสารประกอบคำสอนและแบบฝึกหัดปฏิบัติชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 13. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2542) เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 7-15. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เรณู ไชยขันธ์. (2541). คำลักษณนามในภาษาไทยถิ่นใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาไทย). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

วริษา โอสถานนท์. (2559). ฝึกทักษะภาษาลาวเวียงจันทน์ (ปรับปรุงครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมทรง บุรุษพัฒน์ และ Zhou Guoyan. (2552). การเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาตระกูลไท-กะได. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุริยา รัตนกุล. (2537). นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1 ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและตระกูลจีน-ทิเบต. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เหรียญทอง ชำนาญรบ. (2540). คำลักษณนามภาษาอีสาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bartz, R.K. & A.V.N Diller. (1985). Classifiers and Standardisation: Some South and South-East Asian Comparisons. Papers in SEA Linguistics No. 9: Pacific Linguistics. A-67

Enfield, N.J. (2004). Nominal classification in Lao: a sketch. Sprachtypol. Univ Forch (STUF), Berlin 57. 2/3: 117-143.

Nida, Eugene Albert. (1975). Componential analysis of meaning: an introduction to semantic structures. The Hague: Mouton.

Sirisuda Thongchalerm. (2008). A comparison of classifier usage among three generations in Thai dialect of Ubon Ratchathani. (Master of Arts Linguistics): Mahidol university.