ราวณะในปอุมจริยะของวิมลสูริ: ตัวละครปรปักษ์ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ

Main Article Content

บุณฑริกา บุญโญ
ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว

บทคัดย่อ

ปอุมจริยะ รามายณะฉบับของศาสนาเชน แต่งขึ้นในบริบทแนวคิดของศาสนาเชน ที่เรียกว่า ศลากาปุรุษะ ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่กวีเชนมักนำมาใช้ในการแต่งวรรณคดีประเภทเรื่องเล่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาราวณะในฐานะตัวละครปรปักษ์ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ และความสัมพันธ์ต่อพระรามและพระลักษมณ์ภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าราวณะมีลักษณะเป็นวีรบุรุษผู้ทรงพลังอำนาจ มีความสามารถในการรบ และเป็นเชนศาสนิกที่ภักดีต่อพระชินเจ้า แต่ก็มีความอหังการและมักมากในสตรี ทำให้ราวณะลักนางสีดาไปจากพระราม จนในที่สุดตนเองถูกสังหาร ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดศลากาปุรุษะที่ระบุว่าประติวาสุเทวะเป็นวีรบุรุษทรราช ส่วนความสัมพันธ์ต่อพระรามและพระลักษมณ์นั้นพบว่าราวณะเป็นตัวละครที่ถูกกำหนดให้ต้องถูกพระลักษมณ์สังหาร ทั้งคู่จึงมีบทบาทเป็นคู่ขัดแย้งในฐานะวาสุเทวะและประติวาสุเทวะ ขณะที่พระรามเป็นพลภัทรซึ่งตามแนวคิดศลากาปุรุษะจัดให้เป็นพี่ของวาสุเทวะและเป็นผู้ประพฤติอหิงสา จึงแทบไม่ปรากฏบทบาทในการรบเลยและมิได้เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับราวณะ

Article Details

How to Cite
บุญโญ บ., & ทัดแก้ว ช. (2020). ราวณะในปอุมจริยะของวิมลสูริ: ตัวละครปรปักษ์ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ . วรรณวิทัศน์, 20(1), 140–166. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.5
บท
บทความวิจัย

References

Chandra, K. R. (1970). A critical study of Paumacariyaṃ. Muzaffarpur, India: Research Institute of Prakrit, Jainology and Ahimsa Vaishali.

Dundas, P. (2002). The Jains. London, England: Routledge.

Jain, H. (2006). Literature of Jainism. In S. K. Chatterji (ed.), The cultural heritage of India (Vol. V) (pp.152-163). Kolkata, India: The Ramakrishna Mission Institute of Culture.

Jain, J. C. (2004). History and development of Prakrit literature. New Delhi, India: Manohar.

Kulkarni, V. M. (1990). The story of Rāma in Jain literature. Ahmedabad, India: Saraswati Pustak Bhandar.

Jaini, P. S. (2010). Collected papers on Jaina studies. Delhi, India: Motilal Banarsidass.

Pandey, R. (2002). Hindu Saṃskāras. Delhi, India: Motilal Banarsidass.

Ramanujan, A. K. (1991). Three hundred Rāmāyaṇas: Five examples and three thoughts on translation. In P. Richman (ed.), Many Rāmāyaṇas: The diversity of a narrative tradition in south Asia (p. 22-49). Berkeley, CA: University of California Press.

Vimalasūri. (2011). Paumacariyaṃ. Surata. India: Ā. Om̐kārasūrī Ārādhanā Bhavana.

Winternitz, M. (1972) A History of Indian Literature (Vol. II). New York, NY: Russell & Russell.