การเปรียบเทียบเสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไทเขินที่เชียงตุงกับภาษาไทเขินที่เชียงใหม่

Main Article Content

อรพัช บวรรักษา
วิราพร หงษ์เวียงจันทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเสียงปฏิภาคของภาษาไทเขินที่เชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมากับภาษาไทเขินที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย  ภาษาไทเขินที่เชียงตุงเก็บข้อมูลที่บ้านยางเก๋ง  เมืองเชียงตุง  ส่วนภาษาไทเขินที่เชียงใหม่เก็บข้อมูลที่บ้านต้นแหนหลวง อำเภอสันป่าตอง  โดยนำคำศัพท์จำนวนประมาณ 1,200 คำ ไปสอบถามผู้บอกภาษาที่มีอายุระหว่าง 50-60 ปี ถิ่นละ 4 คน แล้วนำมาพิจารณาความคล้ายคลึงและความแตกต่างของเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์


ผลการศึกษาพบว่าเสียงปฏิภาคพยัญชนะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1)เสียงปฏิภาคที่เหมือนกัน มี 3 ลักษณะ ได้แก่  เสียงปฏิภาคของพยัญชนะต้นเดี่ยว เสียงปฏิภาคของพยัญชนะต้นควบ  และเสียงปฏิภาคของพยัญชนะท้าย  2)เสียงปฏิภาคที่ต่างกันมี 3 ลักษณะ ได้แก่  เสียงปฏิภาคของพยัญชนะต้นเดี่ยว เสียงปฏิภาคของพยัญชนะต้นควบ  และเสียงปฏิภาคของพยัญชนะท้าย 


เสียงปฏิภาคสระแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เสียงปฏิภาคที่เหมือนกันมี 18 เสียง  2) เสียงปฏิภาคที่ต่างกันมี 2 ลักษณะ คือ แบบที่ทั้งสองถิ่นเป็นเสียงสระเดี่ยวเช่นเดียวกัน  แต่เป็นคนละหน่วยเสียง  และแบบที่ถิ่นหนึ่งเป็นเสียงสระเดี่ยว  แต่อีกถิ่นหนึ่งเป็นเสียงสระประสม  ส่วนเสียงปฏิภาควรรณยุกต์ของภาษาไทเขินที่เชียงตุงและเชียงใหม่มีทั้งที่เหมือนกันและคล้ายกัน 

Article Details

How to Cite
บวรรักษา อ., & หงษ์เวียงจันทร์ ว. (2020). การเปรียบเทียบเสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไทเขินที่เชียงตุงกับภาษาไทเขินที่เชียงใหม่ . วรรณวิทัศน์, 20(1), 167–195. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.6
บท
บทความวิจัย

References

ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและภาษาไทเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรภาพ โลหิตกุล. (2538). คนไทในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531). ภาษาถิ่นตระกูลไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2560). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพัช บวรรักษา, วิราพร หงษ์เวียงจันทร์, และเนมิ อุนากรสวัสดิ์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทเขินที่เชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมากับภาษาไทเขินที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Egerod, S. (1959). Essentials of Khun phonology and script. Acta Orientalia, 24(3-4), 123-146.

Gedney, W. J. (1972). A checklist for determining tones in Tai dialects. In M.E. Smith (Ed.), Studies in Linguistics in Honor of George L. Trage (pp.423-437). The Hague, Netherlands: Mouton.

Owen, W. R. (2012). A tonal analysis of contemporary Tai Khuen varieties. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society (JSEALS), 5, 12-31.

Petsuk R. (1978). General characteristics of the Khun language (Unpublished master’s Thesis). Mahidol University, Bangkok, Thailand.